หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจ้าพ่อผาด่าน(ขันคำ) นายด่านรักษาเมืองสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ดอยผาด่าน

ศาลเจ้าพ่อผาด่าน อำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน



        เจ้าพ่อผาด่าน ตามตำนานเล่าขานว่าเจ้าผาด่าน มีนามเดิมว่า "ขันคำ"ได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จาก สุพรหมฤาษี ซึ่งเป็นฤาษีที่มีฤทธฺ์ทานุภาพมากในขณะนั้น เจ้าพ่อผาด่านเป็นทหารเอกของ เจ้าแม่จามเทวี มีความสามารถในการใช้อาวุธทั้งหอกและดาบอย่างช่ำชองเป็นบุคคลที่มีความกล้าหารและซื่อสัตย์ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นนายด่านรักษาเมือง คอยรายงานความเคลื่อนไหวของผู้คนและข้าศึก

                   ตามตำนานที่เล่าขานสืบกันมาจากผู้เฒ่าผู้ แก่ เล่าสืบกันมาหลายชั่วอายุคนกล่าวว่าเจ้าพ่อผาด่าน เป็นเจ้าพ่อสิงสถิตย์อยู่ที่ดอยผาด่าน ซึ่งดอยผาด่านมีลักษณะเป็นหน้าผาสูง ในช่วงเวลาอากาศแจ่มใสจะสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล แต่ถ้าหากขึ้นไปอยู่บนหน้าผา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจ้าพ่อผาด่านใช้เป็นที่สังเกตการณ์รบในสมัยนั้น จะสามารถมองเห็นได้ทั้งภายในจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งในจังหวัดลำพูนสามารถมองเห็นได้ เช่น นิคมอุตสาหกรรมและอำเภอป่าซาง ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สามารถมองเห็นได้ เช่น อำเภอเมืองสันกำแพง สันทราย พระธาตุดอยสุเทพ ตำหนักภูพิงค์ฯ หางดง สันป่าตองและดอยอินทนนท์ ตั้งแต่สมัยโบราณในวันพญาวันหรือ ตรงกับวันที่ ๑๕ ของเดือนเมษายนของทุกปีจะมีการอัญเชิญเจ้าพ่อผาด่านให้เสด็จลงมา เพื่อประทับทรง พบปะพูดคุยกับบรรดาลูกหลาน ชาวบ้านที่มีความเคารพนับถือ และเลื่อมใสในตัวเจ้าพ่อผาด่าน

                  ตำนานเจ้าพ่อผาด่านมีมานานแล้ว และเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรแต่ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ นายสุเทพ ปัญญากาศ (ปัจจุบันเป็นกำนันตำบลทากาศ)ได้แนะนำและชักชวนคณะกรรมการ ให้เดินทางไปที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อไปปรึกษากับครูบาเทืองนาถสีโล แห่งวัดบ้านเด่น ซึ่งครูบาเทืองท่านนี้เป็นครูบาที่มีบุญบารมีมากทางคณะกรรมการ ได้เดินทาง ไปวัดบ้านเด่นเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ตรงกับวันอาทิตย์ แต่ทางครูบาเทืองได้นัดให้ไปหาท่านอีกครั้งหนึ่ง คือต้องหลังวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ทางคณะกรรมการได้เดินทางไปที่วัดบ้านเด่นอีกครั้ง เพื่อพบกับครูบาเทือง นาถสีโลครูบาเทืองซึ่งท่านได้นั่ง สมาธิและก็ได้เล่าให้คณะกรรมการฟังเพื่อเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าซึ่งคณะกรรมการก็ได้ทำการค้นคว้า ประวัติเจ้าพ่อผาด่านได้ดังต่อไปนี้

                เจ้าพ่อผาด่าน เป็นพระอุปราชของพระเจ้ามหันตยศ เจ้าเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ในราวปี พ.ศ. ๑๒๒๔และพระเจ้าอนันตยศผู้ปกครองเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) ในราว พ.ศ. ๑๒๔๓ สำหรับพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศนั้นเป็นพระราชโอรสแฝดของพระนางเจ้าจามเทวี เจ้าพ่อผาด่านมีนามเดิมว่า "ขันคำ" มีหน้าที่เฝ้าหน้าด่านระหว่างเมือง ๒ เมือง(เมืองหริภุชัย และเมืองเขลางค์นคร) ที่ดอยผาด่านในปัจจุบัน เจ้าพ่อผาด่านได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จาก "สุพรหมฤาษี" ซึ่งเป็นฤาษีแห่งดอยผางาม จังหวัดลำปางเจ้าพ่อผา ด่านเป็นบุคคลที่มีความกล้าหารและซื่อสัตย์เป็นอย่างยิ่งมีความสามารถในการใช้อาวุธทั้งหอกและดาบเป็นอย่างดี ทำหน้าที่นายด่านอยู่ราวปี พ.ศ. ๑๒๖๐

               ในการสร้าง รูปจำลองเจ้าพ่อผาด่าน ได้นำเอาดินจากสถานที่ศักดิ์ ๗ แห่งคือวัดพระคงฤาษี วัดมหาวัน วัดประตูลี้ วัดพระธาตุหริภุญชัย ทั้ง ๔ แห่งในจังหวัดลำพูน และอีก ๓ แห่ง คือ วัดปงยางคก วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง มาบรรจุไว้ที่ฐานของรูปจำลองเจ้าพ่อผาด่านด้วย

                 ทุกวันที่ ๒๘ เมษายน ของทุกปี จะมีการจัดพิธีบวงสรวงโดยการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป และรูปจำลองเจ้าพ่อผาด่าน โดยมีผู้มาร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่นทุกปี
ดอยผาด่าน  ด้านล่างดอยผาด่านเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อผาด่านซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชา


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก



11 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 พฤษภาคม 2554 เวลา 03:11

    กระผมได้เข้ามาอ่านแล้วมีความรู้ดีน่ะคร้าบ

    ตอบลบ
  2. *เนื้อหาสาระดีมากเลยครับสนุกด้วยได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24 ตุลาคม 2554 เวลา 06:04

    ขอบคุณมากคับที่ให้ความรู้กับผมที่เป็นเด็กลำพูนรุ่นใหม่

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณมากครับที่ยังมีคนสนใจประวัติศาสตร์ล้านนาอยู่

    ตอบลบ
  5. รู้สึกดีนะครับที่ท่าน "ขันคำ" ได้มีตำนานให้คนรุ่นหลัง
    ได้มีไว้ศึกษาต่อไปจนถึงลูกหลาน
    แล้วยังมีที่ให้ลูกหลานได้กราบไหว้บูชาอีกด้วย

    ตอบลบ
  6. ภาพดอยผ่าด่าน คือผาด่านจ.แพร่

    ตอบลบ
  7. ที่มาของนามสกุล ขันคำ มาจากที่นีหรือป่าว

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ29 พฤษภาคม 2557 เวลา 15:02

    ใครเอาดาบเจ้าพ่อไปเอามาคืนตวย

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณครับได้ความรู้เพิ่มเติม

    ตอบลบ
  10. ทหารเอกเจ้าแม่จามเทวีมีกี่คน มีใครบ้างค่ะ


    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ12 พฤษภาคม 2567 เวลา 02:59

    ขอบคุณสำหรับความรุ้ที่ให้ครับ

    ตอบลบ