วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

พระยาโลมาวิสัย อัจฉริยะกวีแห่งราชสำนักลำปาง

               พระยาโลมาวิสัยเป็นกวีในราชสำนักเจ้าหลวงลำปาง เดิมเป็นชาวจังหวัดเชียงราย เป็นผู้ที่มีความเปรื่องปราดสามารถยิ่งผู้หนึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ราวประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐-๒๓๓๐  ในสมัยที่เจ้าคำสม เจ้าดวงทิพย์ เจ้าหนานไชยวงศ์ เจ้านันทิยะ และเจ้าอินทร์ เป็นผู้ครองนครลำปาง ตามลำดับ พระยาโลมาวิสัยน่าจะรับราชการเป็นอาลักษณ์ในคุ้มหลวงลำปาง และต่อมาในสมัยเจ้าหลวงวรญาณรังสี ท่านก็คงยังรับราชการอยู่อีกหลายปี ภรรยาของท่านคือเจ้าแม่สุคันธาซึ่งเป็นเจ้านายในราชสกุลลำปาง ด้วยความสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ ท่านจึงได้เป็นอาลักษณ์หรือกวีประจำราชสำนักลำปาง ผู้สืบเชื้อสายของพระยาโลมาวิสัย ปัจจุบันใช้นามสกุล ไสยวงศ์และได้อพยพจากลำปางมาตั้งรกรากที่บ้านท่าวังพร้าว ใกล้กับสะพานแม่ขาน อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ พระยาโลมาวิสัยมีความสามารถทั้งการประพันธ์โคลงและค่าว ผลงานเท่าที่ทราบมีดังนี้

๑.  โคลงหงส์ผาคำ ประพันธ์ด้วยโคลงสี่สุภาพสลับกับโคลงสาม และโคลงสอง จำนวน ๙๐๗ บท ประพันธ์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕

๒. ค่าวซอหงส์ผาคำ เนื้อเรื่องเหมือนโคลงหงส์ผาคำ แต่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์ค่าว ซึ่งเป็นฉันทลักษณ์ที่ได้รับความสนใจมากในระยะนั้น นับเป็นกวีล้านนาคนแรกที่ใช้คำประพันธ์ค่าวเขียนวรรณกรรมเรื่องยาวเพื่อความบันเทิง

๓. ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ เมื่อเรื่องค่าวซอหงส์ผาคำประสบความสำเร็จได้รับความสนใจจากมหาชน จึงได้ประพันธ์ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ ในเวลาต่อมา





ขอบคุณข้อมูลจาก
(มณี พยอมยงค์, 2516 : 90)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น