วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขุนเจี๋ยง มหาราชวีรบุรุษแห่งสงคราม


                ขุนเจี๋ยงทรงเป็นพระโอรสของขุนศรีจอมธรรมแห่งเมืองภูกามยาว   เมื่อทรงประสูติกาลตามตำนานกล่าวเล่าว่ามีเทพยดานำเอาดาบทิพย์และคณฑีทิพย์มาวางไว้เคียงข้างพระวรกายและโหรหลวงได้ทำนายดวงชะตาพระโอรสน้อยนี้ว่าจะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป
                      เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๓ ขวบปี พระมารดาก็ทรงประสูติราชบุตรอีกพระองค์หนึ่งพระราชบิดาพระราชทานนามว่า ขุนชอง ครั้นพระกุมารทั้งสองพระองค์เจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาศิลปศาสตร์เชิงช้างเชิงม้าและเพลงดาบศาตราวุธต่างๆจนเชี่ยวชาญชำนาญเป็นยิ่งนัก  พอพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา  ขุนเจี๋ยงก็เสด็จออกไปคล้องช้างที่เมืองน่าน   พระญาน่านผู้ครองเมือง มีพระนามว่า พละเทวะ ทรงเกิดชอบพระทัยจึงทรงพระราชทานพระธิดาพระนามว่า จันทรเทวี ให้เป็นพระชายาของขุนเจี๋ยง  ต่อมาขุนเจี๋ยงได้เสด็จไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พระญาแพร่ก็ทรงยกพระธิดาพระนามว่า พระนางแก้วกษัตรี  ให้เป็นพระชายาอีกพระองค์หนึ่ง  ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕ ชันษาต่อมาขุนศรีจอมธรรม พระราชบิดาก็ได้เสด็จสวรคตลง  ขุนเจี๋ยงพระราชโอรสก็ทรงขึ้นครองราชสมบัติแทน พอล่วงมาได้ ๖ ปี ขุนชิณ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของขุนศรีจอมธรรม  ซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยาง  เกิดศึกมาติดเมืองทางเมืองหิรัญนครเงินยางไม่สามารถจะต่อสู้รักษาบ้านเมืองไว้ได้จึงใช้ให้คนถือหนังสือส่งสารไปให้ขุนเจี๋ยงผู้เป็นหลานให้ยกพลโยธามาช่วยรบศึกชาวแกว  เมื่อทรงได้รับพระราชสาส์นของสมเด็จลุงก็มิทรงได้รอช้าสั่งให้เกณฑ์พลเมืองและหัวเมืองต่างๆ อันได้แก่ เมืองพร้าว  เมืองลอง  เมืองเทิง  เมืองพาน  และหัวเมืองอีกมากมายรวมกันได้ ๒ แสนคนพร้อมด้วยช้าง ๗ ร้อย ม้า ๓ พันออกตั้งประชุมพลที่ตำบลดอนไชยแล้วยกพลดยธาเดินทางไปยังเมืองหิรัญนครเงินยาง
                  เมื่อขุนเจี๋ยงยกทัพไปถึงก็รบกับข้าศึกชาวแกวทันที ผลของการรบก็คือฝ่าข้าศึกต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบ  ขุนเจี๋ยงก็ทรงเสด็จเข้าเฝ้า ขุนชิณ   ขุณชิณก็ทรงพระราชทานพระธิดาพระนามว่า เจ้าหญิงอั้วคำคอนเมือง ให้อภิเษกเป็นพระชายาขุนเจี๋ยงอีกพระองค์   นอกจากขุนเจี๋ยงจะทรงมีพระชายา ๓ พระองค์แล้วนั้นยังมีพระชายาอีกพระองค์หนึ่ง ได้เมื่อที่เสด็จยกทัพไปรบกับพวกแกวแล้วได้ชัยชนะ พระองค์จึงทรงเวนราชสมบัติทางเมืองภูกามยาวให้แก่ราชบุตรพระนามว่า พระญาลาวเงินเรือง ครอบครองส่วนเมืองหิรัญนครเงินยางก็ทรงให้ ขุนชิณ ครองดังเก่า  ส่วนพระองค์ได้ทรงยกรี้พลไปรบกับแกวหรือญวนอานามศัตรูเก่าอีกจนทำให้พระองค์ได้ครอบครองอาณาเขตของประเทศญวนอานามทั้งหมด และทรงตีได้ล้านช้าง ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงมีเกียรติยศระบือลั่นไปทุกทิศานุทิศนับว่าพระองค์ทรงมีพระเดชานุภาพมากที่สุดในยุคนั้น  ต่อมาพระญาแกวหรือเจ้าเมืองญวนได้ยกพระราชธิดาให้เป็นชายาของขุนเจี๋ยงพระนามว่า พระนางอู่แก้ว ด้วยเดชานุภาพในการทำสงครามได้ชัยชนะท้าวพระยาสามนต์ทั้งหลายอันมีพระญาห้อร่มฟ้าเก๊าพิมานเป็นประธานก็มาชุมนุมกัน ณ ตำบลภูเหิดในเมืองแกว กระทำการพิธีปราบดาภิเษก ขุนเจี๋ยงให้เป็น พระญาจักราช ในเมืองแกว  พอขุนเจี๋ยงได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองแกวเสร็จแล้วก็ทรงขอให้พระญาห้อร่มฟ้าเก๊าพิมานแปงลายจุ้มลายเจีย(ลายจุ้มลายเจียหมายถึงตราตั้ง)  ขุนเจี๋ยงขอให้พระเจ้ากรุงจีนทำตราตั้งให้แก่พระโอรสพระนามว่า พระญาลาวเงินเรือง ให้เป็นพระญาครองเมืองเชียงราย ส่วนขุนเจี๋ยงพระญาจักราชแห่งเมืองแกวก็ทรงครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองแกวได้ ๑๔ ปีมีพระราชโอรสกับพระนางอู่แก้ว ๓ พระองค์คือ ท้าวอ้ายผาเรือง  ท้าวยี่คำหาว  ท้าวสามชุมแสง  เมื่อพระโอรสทั้ง๓ เจริญวัยมาพระญาจักราชก็ทรงยกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวอ้ายผาเรืองราชโอรสองค์โต  ส่วนท้าวยี่คำหาวได้ครองเมืองล้านช้าง  และเจ้าสามชุมแสงได้ครองเมืองนนทบุรี(น่าน)  ส่วนพระญาจักราชขุนเจี๋ยงก็ทรงเที่ยวยกทัพปราบปรามหัวเมืองต่างๆเรื่อยไปจนถึงเมืองแกวแมนตาขอบฟ้าตายืน(เขมร) แล้วทรงยกทัพออกไปถึงฝั่งทะเล  นับว่าเป็นการกระทำสงครามที่แผ่อาณาเขตกว้างไกลที่สุดในสมัยนั้น แต่พระองค์ทรงพระชราเสียแล้ว  แม้น้ำพระทัยจะกล้าหาญแข็งแกร่งเพียงใด ในวาระที่สุดเมื่อพระญาแกวแมนรี้พลโยธาหาญมากมายทำสะพานหินข้ามแม่น้ำออกมาต่อรบ   ด้วยกำลังพลย่อมเหนือกว่ากันมากนัก  แต่เมื่อพระองค์จะเห็นเช่นนั้นก็มิทรงยอมถอยแม้แต่ก้าวเดียว  ด้วยขัตติยะมานะข้าศึกที่ไหลเข้ามาดุจดังคลื่นในมหาสมุทรแต่ก็มิได้ทรงสะดุ้งกลัวแต่กลับทรงมุมานะขับขี่ช้างพระที่นั่งออกไปณรงค์กับข้าศึกเป็นสามารถ  แต่ชะตาถึงฆาต  พระญาจักราชขุนเจี๋ยงผู้เคยปราบปรามข้าศึกราบเรียบมาเกือบตลอดพระชนม์ชีพก็ต้องอาวุธข้าศึกสิ้นชีพตักษัยอยู่กับคอช้างพระที่นั่ง เป็นการสิ้นพระชนม์อย่างกล้าหาญ พวกไพร่พลไก้พากันเอาพระบรมศพ หนีข้าศึกกลับมายังนครหิรัญเงินยางจนได้ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๗๗ พรรษา อันที่จริงแล้วทรงชรามากแล้วทรงครองราชเมื่อพระชนม์ ๒๖ พรรษา ครองล้านนาได้ ๒๔ ปี ไปปราบล้านช้างเมืองแกวและครองเมืองแกว(ญวน) ๑๗  ปี  สำหรับชีวิตของหาบุรุษผู้หนึ่งซึ่งเกิดมาเพื่อการศึกสงครามแล้ว ก็นับว่าพระองค์เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ควรจะจดจำไว้ทีเดียว

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มีนาคม 2554 เวลา 05:44

    มีสาระความรู้มากครับขอบคุณครับ

    ตอบลบ