วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

พญาผาบ(พระยาปราบสงคราม) ผู้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม


                    ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เจ้าหลวงผู้ครองเมืองเชียงใหม่องค์ที่๗
(ระหว่างพ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๔๐)กบฏพญาปราบสงครามหรือพญาผาบเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ ๓ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ในตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย  
                                  มูลเหตุเกิดมาจากน้อยวงษ์เป็นเจ้าภาษีนายอากรผูกขาดภาษีหมาก ภาษีพลู มะพร้าว ข้าวเปลือก และ วัวควาย ในแขวงเมืองเชียงใหม่ในอัตราปีละ ๔๑๐๐๐รูปี (สี่หมื่นหนึ่งพันรูปี) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเจ้าเดิมถึง๑๖๐๐๐รูปีดังนั้น จึงทำหื้อน้อยวงษ์ต้องเก็บภาษีพืชผลการเกษตรเอากับชาวบ้านอย่างเข้มงวดละเอียดถี่ยิบ เพื่อให้ได้เงินจนคุ้มทุนและคุ้มกำไรในการดำเนินการผูกขาดสัมปทานภาษีในครั้งนี้

                        ครั้งนั้นทางการบ้านเมืองได้ออกกฎหมายให้เก็บภาษี ต้นหมาก(ภาษีสมพัตสร) แต่ไม่ได้เก็บด้วยตนเองปล่อยให้ นายอากร เป็นผู้รับเหมาเก็บจากราษฎรอีกต่อหนึ่ง นายอากรผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการก็ออกสำรวจสวนหมากทุกๆแห่งในเมืองเชียงใหม่เรื่อยไป จนถึงอำเภอสันทรายซึ่งเป็นถิ่นของพญาผาบ เป็นนายแคว้นหนองจ๊อม(ผาบ แปลว่า ปราบ)  นายอากรผู้รับอาสามาสำรวจสวนหมาก ได้ทำการสำรวจมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านพญาได้สังเกตเห็นวิธีการสำรวจของนายอากรคือ เอาเส้นตอกไปมัดต้นหมากไว้ทุกต้นแล้วแก้ออกนับดูจำนวนตอกว่าจะมีสักกี่สิบเส้น ตามกำหนดก็ต้องใช้ตอกมัดต้นละหนึ่งเส้นเท่านั้น แต่นายอากรสมัยนั้นกลับเล่นลวดลายเอากับราษฎรคือ แทนที่จะใช้ตอกเส้นหนึ่งต่อหมากต้นหนึ่ง กลับกลายเป็นว่าต้นหมากต้นหนึ่งมีเส้นตอกมัดไว้หลายเส้น ซึ่งหมายความว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของต้นหมาก จะต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นจากที่ควรเสีย เพราะ จำนวนตอกกับจำนวนเส้นตอกของนายอากรเกิดไม่ตรงกัน
                            พญาผาบเห็นกลโกงของนายอากรก็กล่าวทักท้วงขึ้นทันทีแต่นายอากรก็ไม่ยอมฟังเสียงทักท้วง มุ่งแต่จะทำตามที่ตนมุ่งหวังท่าเดียว พญาผาบขัดใจก็นำความเข้ากราบทูลพ่อเจ้าชีวิตให้ทรงทราบ แต่ครั้งนั้นกิจการบ้านเมืองและอำนาจส่วนใหญ่ได้ถูกลิดรอนไปมากแล้ว การปกครองบ้านเมืองมีทั้งตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑล และอุปราช พ่อเจ้าชีวิตก็อ้ำอึ้งอึดอัดพระทัย ไม่สามารถจะช่วยให้ความเป็นธรรมแก่ท่านพญาได้
                           ดังนั้น พญาผาบ บุรุษผู้กล้าหาญแห่งสันทราย ก็บ่ายหน้าไปหาสหายรักที่ชื่อว่า  พญาคูหา  ปรึกษาหารือกันถึงเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเก็บภาษีต้นหมากซึ่งกำลังเดือดร้อนทุกครัวเรือน  
                          เราจะปล่อยให้อ้ายพวกนี้มากดขี่พวกเราน่ะไม่ได้หรอก ท่านพญา เราจะต้องร่วมมือกันต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม พญาผาบว่า
                                ข้าก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน พญาคูหาตอบคำปรารภของสหายรักอย่างหนักแน่น เราจะต้องแข็งข้อไม่ยอมมัน เอาละเราต้องไปป่าวประกาศบอกราษฎรให้ช่วยกันประท้วงการกระทำของนายอากรครั้งนี้
                                แต่เราจะทำการประท้วงด้วยวิธีใดล่ะ ท่านพญา พญาคูหาถามภายหลังจากนิ่งไปครู่หนึ่งแล้วพญาผาบก็ยังมิได้ต่อคำเพราะกำลังให้หัวคิดตรึกตรองอย่างเคร่งเครียดพอพญาคูหาถามขึ้นเช่นนั้น ท่านพญาผาบก็ตกลงใจได้ในทันที
                                ข้าว่าเอาอย่างนี้ดีไหม ในเมื่อพ่อเจ้าชีวิตก็ช่วยอะไรไม่ได้ เราจะรวบรวมกำลังคนออกไปทำการปิดเส้นทางระหว่าง อำเภอสันทรายนี้เสีย ไม่ยอมให้พวกในเวียงมันล่วงล้ำเข้ามาในเขตอำเภอสันทรายได้
                                พญาคูหามองตาพญาผาบอย่างยกย่องในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว การขัดอาญาอันหมายถึงคำสั่งเจ้านายสมัยนั้นมีโทษหนักนัก แต่ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย พญาคูหาก็มิได้ย่อท้อกลัวตายเมื่อสหายพญาว่าดังนั้นก็พยักหน้าหงึก
                                เอาเลย ท่านพญาผาบ ข้าเองจะเป็นคนออกป่าวประกาศร้องให้ราษฎรยกหมู่ไปปิดกั้นแดน แล้วส่งคนไปเจรจากับทางการบ้านเมืองแถมครั้งหนึ่ง แต่เราจะกำหนดเอาที่ตรงไหนเป็นที่มั่นกันเล่า
                                อ๋อ ข้าตกลงว่าจะเอาตรงลำน้ำแม่คาวนั่นหละท่านพญาพญาผาบตอบ เราจะถือเอาลำน้ำแม่คาวเป็นแดนเส้นขนาน ไผจักล่วงล้ำเข้ามามิได้ ด้วยประการฉะนี้  ชายฉกรรจ์ทุกหมู่บ้านในเขตอำเภอ สันทราย ต่างก็ยกกันมาปิดกั้นแดนระหว่างอำเภอสันทรายจนแน่นขนัดไปหมดทุกคนต่างก็มีมีดพร้ากะท้าขวานตามมีตามเกิด แต่ส่วนใหญ่ก็ดาบยาวอันเป็นอาวุธประจำมือของแต่ละคน มีพญาผาบเป็นหัวหน้าพญาคูหาเป็นรอง หากเจรจาไม่สำเร็จก็จะพากันแข็งข้อ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าการทำเช่นนั้นไม่ผิดกับการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง แต่พญาทั้งสองกับประชาชนชาวสันทรายก็มิได้ย่อท้อ แต่ผลการเจรจากลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ามิหนำซ้ำยังถูกกล่าวหาว่า พญาผาบเป็นกบฏ เสียอีก
                                บุรุษใจเพชรแห่งสันทราย หมายพึ่งความยุติธรรมไม่ได้แล้วความหวังเพื่อสันติสุขของประชาชนถูกมองผิด ก็เสียใจเป็นอันมาก เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองส่งไพร่พลมาทำการ ปราบกบฏ พญาผาบก็พาพวกพ้องของตนต่อสู้กับพวกที่มา ปราบ แต่กำลังคนกำลังอาวุธมีไม่เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งก็ไม่ได้คิดหมายความว่าจะตั้งตนเป็นกบฏดังกล่าวหา พญาผาบเห็นท่าจะสู้กับฝ่ายบ้านเมืองไม่ได้ก็สู้พลางถอยพลาง เพราะมาจินตนาการว่า หากสู้ไปก็จะพาชาวบ้านทั้งหมดล้มตายไปโดยไร้ประโยชน์ทั้งเป็นการผิดต่อบ้านเมือง แทนที่จะเข้าใจว่าการกระทำของตนเป็นเพียงการประท้วงขอความเห็นใจ ไม่ใช่จะเป็นการคิดกบฏต่อบ้านเมืองก็หามิได้ แต่เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองไม่พยายามเข้าใจ ไม่ยอมสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่นายอากรเป็นฝ่ายคดโกงไม่เป็นไปโดยซื่อ เมื่อประท้วงไปก็มาต้องข้อหาว่าเป็นกบฏดังนั้น พญาผาบผู้รักราษฎรยิ่งกว่าตนเองก็ตัดสินใจที่จะรับผิดเสียคนเดียว
                                พญาผาบผู้กล้าหาญ ผู้ต่อสู้กับฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรมเมื่อประสบกับความผิดหวังก็มิได้คิดจะเอาตัวรอดกลับก้มหน้ารับผิดเสียคนเดียว ในที่สุดก็ยอมพลีชีพเพื่อเป็นการป้องกันประชาชนมนท้องถิ่นของตนทั้งหมดด้วยน้ำใจของชายชาติเสือ
                             การตายของท่านนั้นไม่เป็นการตายปล่าวเพราะต่อมาไม่นานนักทางการก็ได้ประกาศเลิกเก็บภาษีต้นหมากทั่วไป แต่ท่านพญาก็ได้ตายไปแล้ว ตายเพราะการต่อสู้เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมจนวาระสุดท้าย...........

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขุนเจี๋ยง มหาราชวีรบุรุษแห่งสงคราม


                ขุนเจี๋ยงทรงเป็นพระโอรสของขุนศรีจอมธรรมแห่งเมืองภูกามยาว   เมื่อทรงประสูติกาลตามตำนานกล่าวเล่าว่ามีเทพยดานำเอาดาบทิพย์และคณฑีทิพย์มาวางไว้เคียงข้างพระวรกายและโหรหลวงได้ทำนายดวงชะตาพระโอรสน้อยนี้ว่าจะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป
                      เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๓ ขวบปี พระมารดาก็ทรงประสูติราชบุตรอีกพระองค์หนึ่งพระราชบิดาพระราชทานนามว่า ขุนชอง ครั้นพระกุมารทั้งสองพระองค์เจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาศิลปศาสตร์เชิงช้างเชิงม้าและเพลงดาบศาตราวุธต่างๆจนเชี่ยวชาญชำนาญเป็นยิ่งนัก  พอพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา  ขุนเจี๋ยงก็เสด็จออกไปคล้องช้างที่เมืองน่าน   พระญาน่านผู้ครองเมือง มีพระนามว่า พละเทวะ ทรงเกิดชอบพระทัยจึงทรงพระราชทานพระธิดาพระนามว่า จันทรเทวี ให้เป็นพระชายาของขุนเจี๋ยง  ต่อมาขุนเจี๋ยงได้เสด็จไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พระญาแพร่ก็ทรงยกพระธิดาพระนามว่า พระนางแก้วกษัตรี  ให้เป็นพระชายาอีกพระองค์หนึ่ง  ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕ ชันษาต่อมาขุนศรีจอมธรรม พระราชบิดาก็ได้เสด็จสวรคตลง  ขุนเจี๋ยงพระราชโอรสก็ทรงขึ้นครองราชสมบัติแทน พอล่วงมาได้ ๖ ปี ขุนชิณ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของขุนศรีจอมธรรม  ซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยาง  เกิดศึกมาติดเมืองทางเมืองหิรัญนครเงินยางไม่สามารถจะต่อสู้รักษาบ้านเมืองไว้ได้จึงใช้ให้คนถือหนังสือส่งสารไปให้ขุนเจี๋ยงผู้เป็นหลานให้ยกพลโยธามาช่วยรบศึกชาวแกว  เมื่อทรงได้รับพระราชสาส์นของสมเด็จลุงก็มิทรงได้รอช้าสั่งให้เกณฑ์พลเมืองและหัวเมืองต่างๆ อันได้แก่ เมืองพร้าว  เมืองลอง  เมืองเทิง  เมืองพาน  และหัวเมืองอีกมากมายรวมกันได้ ๒ แสนคนพร้อมด้วยช้าง ๗ ร้อย ม้า ๓ พันออกตั้งประชุมพลที่ตำบลดอนไชยแล้วยกพลดยธาเดินทางไปยังเมืองหิรัญนครเงินยาง
                  เมื่อขุนเจี๋ยงยกทัพไปถึงก็รบกับข้าศึกชาวแกวทันที ผลของการรบก็คือฝ่าข้าศึกต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบ  ขุนเจี๋ยงก็ทรงเสด็จเข้าเฝ้า ขุนชิณ   ขุณชิณก็ทรงพระราชทานพระธิดาพระนามว่า เจ้าหญิงอั้วคำคอนเมือง ให้อภิเษกเป็นพระชายาขุนเจี๋ยงอีกพระองค์   นอกจากขุนเจี๋ยงจะทรงมีพระชายา ๓ พระองค์แล้วนั้นยังมีพระชายาอีกพระองค์หนึ่ง ได้เมื่อที่เสด็จยกทัพไปรบกับพวกแกวแล้วได้ชัยชนะ พระองค์จึงทรงเวนราชสมบัติทางเมืองภูกามยาวให้แก่ราชบุตรพระนามว่า พระญาลาวเงินเรือง ครอบครองส่วนเมืองหิรัญนครเงินยางก็ทรงให้ ขุนชิณ ครองดังเก่า  ส่วนพระองค์ได้ทรงยกรี้พลไปรบกับแกวหรือญวนอานามศัตรูเก่าอีกจนทำให้พระองค์ได้ครอบครองอาณาเขตของประเทศญวนอานามทั้งหมด และทรงตีได้ล้านช้าง ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงมีเกียรติยศระบือลั่นไปทุกทิศานุทิศนับว่าพระองค์ทรงมีพระเดชานุภาพมากที่สุดในยุคนั้น  ต่อมาพระญาแกวหรือเจ้าเมืองญวนได้ยกพระราชธิดาให้เป็นชายาของขุนเจี๋ยงพระนามว่า พระนางอู่แก้ว ด้วยเดชานุภาพในการทำสงครามได้ชัยชนะท้าวพระยาสามนต์ทั้งหลายอันมีพระญาห้อร่มฟ้าเก๊าพิมานเป็นประธานก็มาชุมนุมกัน ณ ตำบลภูเหิดในเมืองแกว กระทำการพิธีปราบดาภิเษก ขุนเจี๋ยงให้เป็น พระญาจักราช ในเมืองแกว  พอขุนเจี๋ยงได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองแกวเสร็จแล้วก็ทรงขอให้พระญาห้อร่มฟ้าเก๊าพิมานแปงลายจุ้มลายเจีย(ลายจุ้มลายเจียหมายถึงตราตั้ง)  ขุนเจี๋ยงขอให้พระเจ้ากรุงจีนทำตราตั้งให้แก่พระโอรสพระนามว่า พระญาลาวเงินเรือง ให้เป็นพระญาครองเมืองเชียงราย ส่วนขุนเจี๋ยงพระญาจักราชแห่งเมืองแกวก็ทรงครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองแกวได้ ๑๔ ปีมีพระราชโอรสกับพระนางอู่แก้ว ๓ พระองค์คือ ท้าวอ้ายผาเรือง  ท้าวยี่คำหาว  ท้าวสามชุมแสง  เมื่อพระโอรสทั้ง๓ เจริญวัยมาพระญาจักราชก็ทรงยกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวอ้ายผาเรืองราชโอรสองค์โต  ส่วนท้าวยี่คำหาวได้ครองเมืองล้านช้าง  และเจ้าสามชุมแสงได้ครองเมืองนนทบุรี(น่าน)  ส่วนพระญาจักราชขุนเจี๋ยงก็ทรงเที่ยวยกทัพปราบปรามหัวเมืองต่างๆเรื่อยไปจนถึงเมืองแกวแมนตาขอบฟ้าตายืน(เขมร) แล้วทรงยกทัพออกไปถึงฝั่งทะเล  นับว่าเป็นการกระทำสงครามที่แผ่อาณาเขตกว้างไกลที่สุดในสมัยนั้น แต่พระองค์ทรงพระชราเสียแล้ว  แม้น้ำพระทัยจะกล้าหาญแข็งแกร่งเพียงใด ในวาระที่สุดเมื่อพระญาแกวแมนรี้พลโยธาหาญมากมายทำสะพานหินข้ามแม่น้ำออกมาต่อรบ   ด้วยกำลังพลย่อมเหนือกว่ากันมากนัก  แต่เมื่อพระองค์จะเห็นเช่นนั้นก็มิทรงยอมถอยแม้แต่ก้าวเดียว  ด้วยขัตติยะมานะข้าศึกที่ไหลเข้ามาดุจดังคลื่นในมหาสมุทรแต่ก็มิได้ทรงสะดุ้งกลัวแต่กลับทรงมุมานะขับขี่ช้างพระที่นั่งออกไปณรงค์กับข้าศึกเป็นสามารถ  แต่ชะตาถึงฆาต  พระญาจักราชขุนเจี๋ยงผู้เคยปราบปรามข้าศึกราบเรียบมาเกือบตลอดพระชนม์ชีพก็ต้องอาวุธข้าศึกสิ้นชีพตักษัยอยู่กับคอช้างพระที่นั่ง เป็นการสิ้นพระชนม์อย่างกล้าหาญ พวกไพร่พลไก้พากันเอาพระบรมศพ หนีข้าศึกกลับมายังนครหิรัญเงินยางจนได้ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๗๗ พรรษา อันที่จริงแล้วทรงชรามากแล้วทรงครองราชเมื่อพระชนม์ ๒๖ พรรษา ครองล้านนาได้ ๒๔ ปี ไปปราบล้านช้างเมืองแกวและครองเมืองแกว(ญวน) ๑๗  ปี  สำหรับชีวิตของหาบุรุษผู้หนึ่งซึ่งเกิดมาเพื่อการศึกสงครามแล้ว ก็นับว่าพระองค์เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ควรจะจดจำไว้ทีเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองยวมใต้



                          เมื่อครั้งที่ชาวพม่ารามัญเข้ามาปกครองเชียงใหม่นั้น ก็ได้ปกครองชาวเชียงใหม่อย่างกดขี่ข่มเหง  ชาวเมืองต่างเสียขวัญเสียกำลังใจ  กลายเป็นคนเชื่อถือโชคลาง เห็นอะไรที่วิปริตผิดประหลาดก็เข้าใจว่าเป็นอุบาทว์ลางร้ายบอกเภทภัยไปหมด  จิตใจหวั่นไหวตระหนกนกใจง่ายมิได้เป็นปกติสุข  เนื่องด้วยถูกข้าศึกพม่ารบกวนไม่หยุด  ต่อมาได้มีชายหนุ่มนามว่า เทพสิงห์ ชาวเมืองยวมใต้  เกิดมีใจเจ็บแค้นที่ถูกฆ่าศึกชาวพม่าย่ำยีบีฑามาช้านาน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ยกเข้าไปปล้นเมืองเชียงใหม่ในเวลากลางคืน  และจับโป่มังแรนราผู้ครองเมืองเชียงใหม่ชาวพม่าได้และเทพสิงห์ก็ได้จัดการฆ่าโป่มังแรนราและต่อมาก็ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๐ ส่วนบรรดาพม่ามอญในเมืองเชียงใหม่ก็แตกตื่นหนีไปยังเมืองเชียงแสน  เทพสิงห์ครองเมืองเชียงใหม่ได้ประมาณเดือนเศษซึ่งเป็นเวลาอันน้อยนิดที่จะสะสางกิจการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย         เทพสิงห์ก็ได้มีประกาศไปทุกแห่งทุกตำบลให้จับพวกพม่ารามัญฆ่าให้หมดอย่าให้เหลือตกค้างในเชียงใหม่ แต่ปรากฎว่าพวกพม่าเหลืออยู่เป็นจำนวนมากและพวกพม่าก็ได้ชักชวนกันมั่วสุมเป็นหมู่กองแล้วตั้งหัวหน้าขึ้นคือ จะเรเนแต   จะเรเนแตก็รวบรวมกำลังพลได้ถึง  ๓ ร้อยคนพากันคิดการกับเจ้าองค์นกซึ่งเป็นเจ้าลาวที่หนีมาจากเมืองหลวงพระบางมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบุปผาราม เมืองเชียงใหม่ พอตกลงกันว่าจะร่วมมือด้วยกัน  เจ้าองค์นกก็สึกออกมาเป็นหัวหน้านำพลโยธาไปซุ่มคอยดูท่าทีอยู่ที่วัดเกต ขณะนั้นทหารของเทพสิงห์ ๕๐ คนมารักษาสะพานท่าแพไว้ครั้นเวลาเที่ยงคืนเจ้าองค์นกได้จัดให้จะเรเนแตคุมกำลังอ้อมไปทางแจ่งศรีภูมิ    และมุมเมืองด้านเหนือกองหนึ่ง แล้วแต่งคนเข้าสู้กับเทพสิงห์ที่เฝ้าสะพานแตกหนีไปจากเมืองเชียงใหม่ทางประตูด้านทิศใต้คือประตูหะยา ที่ปัจจุบันเรียกว่า ประตูหายยา  เทพสิงห์จึงได้หนีไปเมืองน่านขอความช่วยเหลือจากเจ้าธรรมปัญโญ  เจ้าเมืองน่านยกกำลังมาตีเมืองเชียงใหม่  แต่ชะตาตกการศึกครั้งนี้จึงแพ้อย่างราบคาบเจ้าเมืองน่านเจ้าธรรมปัญโญเสียชีวิตในสนามรบและในตำนานก็ไม่ได้กล่าวนามวีรบุรุษเทพสิงห์อีกเลย
                           พอเจ้าองค์นกได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นานก็เกิดมีแม่ทัพพม่านามว่า สะแคงพญา ยกกองทัพมาจากกรุงอังวะ ประชิดเมืองเชียงใหม่เจ้าองค์นกได้เปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าองค์คำ  ได้แต่งให้คนเชียงใหม่ ๒๐ คนและชาวพม่า ๒๐ คนออกไปต้อนรับสะแคงพญา  พอ ๒๐ คนนี่ออกไป สะแคงพญาก้สั่งให้จับชาวเมือง ๒๐ คนฆ่าเสีย แต่ชาวเมืองทั้ง ๒๐ คนรู้ทันจึงรีบหนีเสียก่อนและกลับมาหาเจ้าองค์คำทูลให้องค์คำทราบ  ขณะนั้นทัพพม่าตั้งอยู่ที่หนองหมอน  เจ้าองค์คำจึงแต่งกองทัพยกไปรบกับพม่า  ทัพพม่าก็แตกหนีไปอยุ่เมืองพะเยา
                        เจ้าองค์คำเป็นชาวล้านช้างสืบเชื้อสายเจ้าลื้อเมืองศรีฟ้า  เคยคิดการกบฏต่อหลวงพระบางแล้วหนีมาในที่สุดก็ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่อยู่ ๓๒ ปีก็สิ้นพระชนม์



ศาลเทพสิงห์ ที่ ค่ายเทพสิงห์ จ.แม่ฮ่องสอน