พระเจ้าติโลกราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาองค์ที่
๙ ราชวงศ์มังรายทรงเป็นโอรสลำดับที่ ๖
ในจำนวนพระโอรส
๑๐ องค์ของพระญาสามฝั่งแกนกับแม่พระพิลก อันได้แก่
ท้าวอ้าย ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวไส ท้าวงั่ว ท้าวลก ท้าวเจ็ด ท้าวแปด ท้าวเก้า
และท้าวซ้อย พระนามเดิมของพระองค์คือ
ท้าวลก แปลว่า ลำดับที่ ๖ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.
๑๙๕๒ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชันษาถึงกาลสมควร
พระราชบิดาก็ทรงโปรดให้ไปครองเมืองพร้าววังหิน(ปัจจุบันคือ อำเภอพร้าว
จังหวัดเชียงใหม่)ต่อมาเกิดราชการสงครามขึ้น ทัพของท้าวลกยกไปสมทบพระราชบิดาล่าช้า
พระญาสามฝั่งแกนจึงลงพระราชอาญา เนรเทศให้ท้าวลกไปครองเมืองยวมใต้(อำเภอแม่สะเรียง
จ.แม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) ต่อมา สามเด็กย้อย อำมาตย์เมืองเชียงใหม่คิดเอาราชสมบัติให้ท้าวลก
จึงได้ซ่องสุมกำลังและลอบไปรับท้าวลกจากเมืองยวมใต้มาไว้ที่เชียงใหม่ ในขณะที่พระญาสามฝั่งแกนได้แปรพระราชฐานไปอยู่ที่เวียงเจ็ดลิน
เชิงดอยสุเทพ (ซึ่งตั้งอยู่ในสวนสัตว์เชียงใหม่ในปัจจุบัน) สามเด็กย้อย
ได้นำกำลังเข้าเผาเวียงเจ็ดลิน
ยึดเมืองเชียงใหม่แล้วจึงบังคับให้พระญาสามฝั่งแกนสละราชสมบัติจากนั้นจึงไปกราบทูลเชิญท้าวลก
มาขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๙๘๕ ทรงมีพระนามว่า พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช เมื่อทรงมีพระชนมายุ
๓๒ พรรษา ส่วนพระราชบิดาทรงโปรดให้ไปประทับอยู่ที่เมืองสาด (อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า)
และปูนบำเหน็จความชอบสามเด็กย้อยเป็น “เจ้าแสนขาน”แต่อยู่มาได้เพียง
๑ เดือน ๑๕ วัน เจ้าแสนขานก็คิดก่อการเป็นกบฏ
พระเจ้าติโลกราชจึงให้ "หมื่นด้งนคร" เสด็จอาของพระองค์
ผู้ครองเมืองลำปาง เข้าจับตัวเจ้าแสนขานไปคุมขังแต่ไม่ให้ทำร้าย
เมื่อพ้นโทษได้ลดยศเป็น "หมื่นขาน" และให้ไปครองเมืองเชียงแสนแทน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน)
พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างความมั่นคงภายในอาณาจักรล้านนาในช่วง
๑๐ ปี (พ.ศ. ๑๙๘๔-๑๙๙๔) มีการปราบหัวเมืองฝางซึ่งมีผู้ปกครองคือ
ท้าวซ้อย พระอนุชาของพระเจ้าติโลกราชที่แข็งเมืองเจ้าเมืองฝางเสด็จหนีไปพึ่งบารมีเจ้าเมืองเทิง
(อ.เทิง จ.เชียงราย) แต่ถูกหมื่นด้งนครประหารชีวิตต่อหน้าเจ้าเมืองเทิง
เป็นการกระทำที่ไม่ไว้หน้าเจ้าเมืองเทิง
จึงส่งสารลับแจ้งให้อยุธยายกทัพมาตีเชียงใหม่(ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบรมราชาธิราชที่
๒หรือเจ้าสามพระยา)อยุธยาจึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่
ตามที่เจ้าเมืองเทิงแปรพักตร์แจ้งให้ยกทัพมาชิงเมือง เจ้าเมืองเทิงจึงถูกประหารชิวิต
ตัดคอใส่แพหยวกกล้วยล่องนำปิง โดยมีนัยว่าเพื่อให้ไปถึงพระเจ้าอยุธยา (สมเด็จพระบรมราชาที่
๒ หรือเจ้าสามพระยา) และกองทัพอยุธยาได้ถูกกลศึกของฝ่ายเชียงใหม่ปลอมตัวเป็นตะพุ่นช้าง
(คนหาอาหารให้ช้าง)
ปะปนเข้าไปในกองทัพเจ้าสามพระยาเมื่อได้จังหวะยามวิกาลจึงตัดปลอกช้าง
ฟันหางช้างจนช้างแตกตื่นแล้วฟันนายช้างตาย
กองทัพเชียงใหม่ได้ยินเสียงอึกทึกก็ได้ทียกเข้าตีกองทัพกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายไป
เจ้าสามพระยาได้พยายามอีกครั้งหนึ่งโดยยกทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองเชียงใหม่แต่ทรงประชวรสิ้นพระชนม์กลางทาง
นับว่าเป็นปฐมเหตุแห่งศึกสิงห์เหนือ
เสือใต้ (เชียงใหม่ -อยุธยา) ยืดเยื้อยาวนาน ถึง๓๓ ปีนับแต่
พ.ศ. ๑๙๘๕ สมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ ถึง พ.ศ. ๒๐๑๘ ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
อาณาจักรล้านนามีความเข้มแข็งจากการที่แสดงแสนยานุภาพทางทหารมากขึ้น
ได้ทำการขยายอำนาจลงสู่ทางใต้ ทำสงครามกับอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถติดต่อกัน
ในช่วงเวลา ๒๔ ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๙๔
พระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองพิษณุโลก
หัวเมืองเหนือของอาณาจักรอยุธยาเข้ามาสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชพร้อมนำไพร่พลเมือง
ทหารกว่า ๑ หมื่นคน มาอยู่ในเชียงใหม่ และร่วมกันตีได้เมืองปากยม (พิจิตรตอนใต้)
จากนั้นใน พ.ศ.๒๐๐๓ พระยาเชลียงได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช
ในปีต่อมาพระยาเชลียงนำพระเจ้าติโลกราชมาตีเมืองพิษณุโลกและเมืองกำแพงเพชร สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงใช้กลศึกหลบหนีออกจากเมืองพิษณุโลกเวลาเที่ยงคืนและเดือนมืดสนิท
ทางลำน้ำน่านกลับอยุธยา พระเจ้าติโลกราชทรงพระพิโรธ รับสั่ง
ให้"ควักลูกตา "ทหารทุกนายที่ซุ่มล้อม ณ พื้นที่ลำน้ำน่าน "หมื่นด้งนคร"แม่ทัพใหญ่รุดเข้าเฝ้า กราบบังคลทูลถวายรายงานว่า
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ใช้ "กลศึก" ตีสัญญาณ ฆ้อง
กลองล่องเรือหนีมาตามลำน้ำน่านโดยให้จังหวะเคาะสัญญาณ เลียนแบบสัญญาณ
ของ "มหาราชเชียงใหม่" ทุกประการ
ประกอบกับเดือนมืด มองเห็นไม่ถนัด ทหารที่ซุ่มเฝ้าระวัง จึงไม่เฉลียวใจ ต่างคิดว่า
เป็นเรือพระที่นั่งของพระเจ้าติโลกราช เสด็จ จึงไม่ยับยั้ง และข้าในฐานะแม่ทัพ
ขอรับโทษแทนทหารชั้นผู้น้อยทั้งหมด หากจะควักลูกตาทหารผู้น้อย ก็ขอให้ควักลูกตาของข้าแต่เพียงผู้เดียว พระเจ้าติโลกราช
ได้ฟังทหารเอกผู้ภักดี ยอมสละแม้กระทั่งลูกนัยตาของตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
ปกป้อง รับแทนทหารลูกน้อง อีกทั้ง ความจงรักภักดีของหมื่นด้งนคร ที่มีต่อ
มหาราชเชียงใหม่ รุกรบไปทั่วดินแดนใกล้ ไกล เคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมเป็น ร่วมตาย
มาด้วยกัน นับครั้งไม่ถ้วน ทรงตรึกตรอง
แล้วนิ่งเสีย ไม่ตรัสถึงอีกต่อไป ต่อมากองทหารม้าทัพหน้าไล่ตาม
เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขณะพักที่ปากยม
และกองทัพม้าได้รายล้อมทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไว้แล้ว
จึงได้ส่งม้าเร็วรีบแจ้งขอรับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าติโลกราช พระองค์ทรงตรัสว่า
"มันก็พญา (กษัตริย์) กู ก็ พญา กูแป้ (ชนะ) มัน มันก็ละอายแก่ใจแล้ว
หมื่นด้ง มึงอย่าทำเลย" ต่อมากองทัพหน้าไปตีเมืองปากยม
(พิจิตร) ครั้นถึง พ.ศ.
๒๐๐๔ พระเจ้าติโลกราชยกทัพลงมาตีหัวเมืองตอนเหนือของอยุธยาอีก
แต่บังเอิญพวกฮ่อ (จีน ยูนนาน) ยกกำลังมาตีชายแดนเชียงใหม่ก็จำต้องยกทัพกลับไปรักษาเมืองขึ้นกับเชียงใหม่ อยุธยา สบโอกาส
กองทัพเชียงใหม่ยกขึ้นเหนือไปตี เมืองพง ไทลื้อ (มณฑลยูนนาน ประเทศจีน)
จึงยกทัพเข้าตีเมืองแพร่ ฝ่ายหมื่นด้งนคร ผู้รักษาเมืองเชียงใหม่
ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ป้องกันเมือง ครั้นกองทัพพระเจ้าติโลกราชเผด็จศึกเมืองพงไทลื้อ
เสร็จแล้วจึงกลับยังไม่ทันถึงเชียงใหม่ ทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปช่วยเมืองแพร่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงเห็นกองทัพเชียงใหม่ใหญ่เกินกำลังจะต้านทานได้จึง ถอยทัพกลับ
โดยทัพหลวงมหาราชเชียงใหม่ไล่ติดตามไปแต่ไม่ทัน จึงไม่ได้รบกัน
ทัพหลวงผ่านเมืองเชลียงกลัวหายนะภัยจึงขอเป็นข้าราชบริพาร จากนั้นทัพมหาราชเชียงใหม่เข้าตีเมืองพิษณุโลกสองแคว
แต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพไปตีเมืองปางพล แล้วกลับผ่านเมืองเชลียง ลำปาง เชียงใหม่ต่อมาเจ้าเมืองเชลียงเป็นกบฏจึงให้หมื่นด้งนครยกทัพไปจับกุมตัวเจ้าเมืองเชลียงมายังเชียงใหม่
และเนรเทศไปอยู่เมืองหาง พร้อมกับแต่งตั้งให้หมื่นด้งนคร ครองเมืองเชลียง
(สวรรคโลก) เพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง อย่างไรก็ดี
พระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพมารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยาอยู่เนืองๆ เป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแก้ไขการขยายอำนาจของพระเจ้าติโลกราช
โดยเสด็จขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. ๒๐๐๖ โดยใช้เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวง
ในการทำสงครามกับล้านนา นอกจากใช้กำลังทหารโดยตรงแล้วทางอยุธยายังใช้พิธีสงฆ์และไสยศาสตร์ด้วย
กล่าวคือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงออกผนวชใน พ.ศ. ๒๐๐๘ ขณะพระชนมายุได้
๓๔ พรรษา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก
พระองค์ส่งราชทูตมายังเชียงใหม่เพื่อขอเครื่องอัฐบริขารพร้อมกับพระเถรานุเถระไปทำพิธีผนวชจากพระเจ้าติโลกราช
(ขณะนั้นมีพระชนมายุ ๕๖พรรษา)
จึงโปรดให้หมื่นล่ามแขกเป็นราชทูตพร้อมด้วยพระเทพคุณเถระและพระอับดับ ๑๒
รูปลงมาเมืองพิษณุโลกเพื่อเข้าเฝ้าถวายเครื่องอัฐบริขารแด่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดจุฬามณี ที่บันทึกว่า " ศักราช ๘๒๖ปีวอกนักษัตร (พ.ศ. ๒๐๐๗)
อันดับนั้น
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเปนเจ้า
ให้สร้างอาศรมจุฬามณีที่จะเสด็จออกทรงมหาภิเนษกรม ขณะนั้น เอกราชทั้งสามเมืองคือ
พระญาล้านช้าง แลมหาราชพระญาเชียงใหม่ แลพระญาหงสาวดี ชมพระราชศรัทธา
ก็แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย" ในขณะทรงผนวช ๘ เดือน
๑๕ วัน
พระองค์ได้ทรงถือโอกาสส่งสมณะทูตชื่อโพธิสัมภาระมาขอเอาเมืองเชลียง -สวรรคโลกคืน
เพื่อ"ให้เป็นข้าวบิณฑบาตร"จากพระเจ้าติโลกราชแต่พระเจ้าติโลกราชเห็นว่าเป็น"กิจของสงฆ์"จึงทรงนิมนต์พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีทุกรูปมาประชุมเพื่อถวายข้อปรึกษา
ครั้งนั้นมีพระเถระเชียงใหม่ชื่อสัทธัมมรัตตนะได้กล่าวกับโพธิสัมภาระสมณะทูตของอยุธยา
ว่า" ตามธรรมเนียมท้าวพระญา (พระมหากษัตริย์) เมื่อผนวชแล้วก็ย่อมไม่ข้องเกี่ยวข้องในเรื่องบ้านเมืองอีก
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชแล้วยังมาขอเอาบ้านเอาเมืองนี้
ย่อมไม่สมควร"สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้ยินคำเหล่านั้น ก็นิ่งเก็บไว้ในใจ เมื่อทรงลาผนวชแล้วจึงได้ออกอุบายจ้างให้พระเถระพุกามรูปหนึ่งที่ทรงไสยคุณไปเป็นไส้สึกในเชียงใหม่
ทำไสยศาสตร์ ยุแยงให้พระเจ้าติโลกราช ทำลายสิ่งศักดิ์สิทธ์ของเมือง อาทิ
ตัดโค่นไม้นิโครธประจำเมือง จนเกิดอาเพศ มีความระแวงสงสัยบรรดาข้าราชบริพาร
จนถึงกับสำเร็จโทษท้าวบุญเรืองราชโอรสตามที่เจ้าจอมหอมุกใส่ความว่าจะชิงราชบัลลังค์
ครั้นทราบความจริงภายหลังทรงเสียพระทัยที่หลงเชื่อจนประหารราชโอรสพระองค์เดียว
รวมทั้งการลงโทษหมื่นด้งนครผู้เป็นแม่ทัพเอกคู่บารมีผู้พิชิตเมืองเชลียง เชียงชื่น(ศรีสัชนาลัย
สวรรคโลก ซึ่งเคยเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย) ที่ถูกใส่ความอีกด้วย
ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่งราชทูตนำเครื่องราชสักการะมาเยือนเชียงใหม่
นัยว่ามาสืบราชการลับที่ จ้างพระเถระพุกามทำคุณไสยแก่เชียงใหม่
ต่อมาพระเถระพุกามถูกจับและเปิดเผยความจริง
จึงถูกลงราชทัณฑ์นำตัวใส่ขื่อคาไปทิ้งลงแม่นำปิงที่"แก่งพอก"
เพื่อให้คุณไสยชั่วร้ายสนองคืนกลับแก่ผู้ที่สั่งมา พระเจ้าติโลกราชทำสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต่อเนื่องมาเป็นเวลา
๒๗ ปี ต่างพลัดกันรุกผลัดกันรับ
ครั้งนั้นพระองค์ขยายอำนาจขึ้นไปทางทิศเหนือตีได้เมืองเชียงรุ้ง
(เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง) เมืองยอง
เมืองอิง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน ตีได้เมืองเชียงตุง
(เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตก ได้รัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน
ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี คือเมืองล๊อกจ๊อก เมืองปั่น หนองบอน ยองห้วย เมืองสู่ เมืองจีด
เมืองจาง เมืองกิง เมืองจำคา เมืองพุย เมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง
รวมกว่า ๑๔ เมือง
โดยเจ้าฟ้าเมืองต่างๆนำไพร่พลเมืองมาพึ่งพระโพธิสมภารที่เชียงใหม่ ๑๒,๓๒๘
คน
นอกจากนี้ยังตีได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว
ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก)
ซึ่งอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง ๖๐กม.ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๐๑๘ พระเจ้าติโลกราชจึงทรงติดต่อกับฝ่ายกรุงศรีอยุธยาขอเป็นไมตรีกัน
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาซึ่งบอบช้ำมากพอกันจึงรับข้อเสนอของพระเจ้าติโลกราช
ในปลายสมัยของรัชกาลของทั้งสองพระองค์อาณาจักรล้านนากับกรุงศรีอยุธยาจึงมีความสงบเป็นไมตรีต่อกันจนสิ้นรัชกาลโดยพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี
พ.ศ. ๒๐๓๐ และให้หลังอีก ๑
ปี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็สวรรคต ในปี พ.ศ. ๒๐๓๑ เป็นการปิดฉาก
ศึก ๒ มหาราชแห่ง ๓ โลก
("ติโลก""ไตรโลก"แปลว่า ๓ โลกคือเมืองสวรรค์
เมืองมนุษย์ และเมืองนรก) การขยายอำนาจไปในทิศเหนือครั้งนั้น
ในปี พ.ศ. ๒๐๒๓ ทรงทราบข่าวว่าไดเวียด(เวียดนาม)ยกทัพ ๔๐๐,๐๐๐ นาย มาตีหลวงพระบาง และมาโจมตีเมืองน่าน ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพระบางถูกกองทัพไดเวียดโจมตี
พระมหากษัตริย์ลาวสิ้นพระชนม์พร้อมกับโอรสอีกสององค์ โอรสองค์สุดท้ายคือเจ้าซายขาวได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าติโลกราช กองทัพล้านนาได้ยกทัพมารบกับไดเวียด โดยมีเจ้าเมืองน่านท้าวขาก่านเป็นแม่ทัพรบชนะกองทัพมหาศาลของจักรพรรดิเลทันตองแห่งไดเวียด
ตัดศีรษะแม่ทัพ มาถวายเป็นจำนวนมาก และขับไล่ทหารไดเวียดออกจากหลวงพระบางจนสิ้น พระเจ้าติโลกราชจึงมีพระบรมราชโองการให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ควบคุมเชลยศึกไดเวียดพร้อมศีรษะแม่ทัพ
เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อถวายแด่จักรพรรดิเฉิงฮว่า แห่งราชวงศ์หมิง
ในตอนแรกจอมจักรพรรดิจีนไม่เชื่อว่ากองทัพล้านนาจะต่อตีกองทัพจักรพรรดิเลทันตองแห่งไดเวียดได้
เพราะกองทัพจีนเพิ่งรบแพ้แก่กองทัพไดเวียดมาหยกๆจอมจักรพรรดิจีนจึงมีพระบัญชาสั่งสอบสวนเชลยศึกเวียดนาม
ทีเดียวพร้อมๆกันโดยแยกสอบสวนคนละห้อง เพื่อป้องกันมิให้เชลยศึกเวียดนาม
บอกข้อมูลให้แก่กัน ผลการสอบสวน ตรงกันหมดว่ากองทัพที่ยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิเลทันตองแห่งเวียดนาม
พ่ายแพ้หมดรูปแก่กองทัพพระเจ้าติโลกราช ณ สมรภูมิที่ เมืองน่าน จักรพรรดิจีนถึงกับยกพระหัตถ์ทุบพระอุระ
ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังทั่วท้องพระโรงต่อหน้าเสนา อำมาตย์ ที่ชุมนุม ณ ที่นั้นว่า
"เหวยๆ ข้าคิดว่าในใต้หล้ามีเพียงข้าผู้เดียวที่มีเดชานุภาพมาก
แต่บัดเดี๋ยวนี้มี ท้าวล้านนาพระเจ้าติโลกราช มีเดชานุภาพทัดเทียมข้า
ข้าจึงแต่งตั้งให้ท้าวล้านนาเป็น
"ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก"ให้เป็นใหญ่รองจากข้า
มีอำนาจที่จะปราบปรามกษัตริย์น้อยใหญ่ที่ก่อการแข็งเมืองต่อข้า
นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป" พร้อมกับทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องประกอบเกียรติยศ
กองทหารพร้อมเสนาบดีผู้ใหญ่ เดินทางมาประกอบพิธีที่เชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่
อลังการโดยทรงยกย่องให้เป็น "รอง" จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง เป็น
"ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก" (King of the West) ส่วนจักรพรรดิจีนเป็นจักรพรรดิแห่งทิศตะวันออก ซึ่งมีการบันทึกไว้ใน"หมิงสื่อลู่"เป็นเอกสารโบราณประจำรัชกาลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งราชสำนักจักรพรรดิจีน
และ ดร.วินัย พงศรีเพียร นักประวัติศาสตร์ผู้เรืองนาม ได้แปลไว้ในเอกสารชื่อ
"ปาไป่สีฟู่ ปาไป่ต้าเตี้ยน"
(คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จัดพิมพ์ในโอกาสเชียงใหม่มีอายุครบ ๗๐๐ ปี
ใน พ.ศ. ๒๕๓๙) บันทึกว่า จักรพรรดิจีนยกย่องให้พระเจ้าติโลกราชเป็น ตาวหล่านนา
หรือท้าวล้านนาและพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศมากมายนอกจากนี้ยังสถาปนาพระเกียรติยศเป็นลำดับสอง รองจากองค์จักรพรรดิจีน
ซึ่งตรงกับเอกสารของพม่าที่บันทึกสมัยอยุธยาก่อนกรุงแตกครั้งที่ ๒
เมื่อ
พ.ศ.๒๓๐๕ ชื่อว่า Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ฉบับพม่า) ดังความว่า ที่ใดก็ตามที่ปรากฏศัตรูขึ้นในแปดทิศของจักรพรรดิอุทิปวาผู้ปกครองทุกสิ่งภายใต้สวรรค์
ให้ท้าวล้านนาเจ้าฟ้าแห่งเมืองเชียงใหม่มีอำนาจที่จะปราบปรามและลงโทษศัตรูนั้นได้... (Wherever enemies appeae in the eight directions of
the Empire of the Utipwa,who Rules All under Heaven ,Thao Lan Na , Chaofa of
Chiang Mai with his forecs shall subdue and punish them.) และทรงให้ราชสมญานามพระเจ้าติโลกราชว่า ราชาผู้พิชิต,ราชาแห่งทิศตะวันตก (Victorious Monarch, King of the West)และชัยชนะครั้งนี้ทำให้พญาซายขาว
พระมหากษัตริย์ลาวพระองค์ใหม่ มาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช ทำให้พระราชอำนาจของพระเจ้าติโลกราชจึงแผ่ไปกว้างขวาง
ด้านซ้ายคือภาพพระแก้วมรกตและด้านขวาคือพระแก้วขาว |
ในหอพระแก้ววัดเจดีย์หลวงนี้อีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๐๒๕ โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทน์แดงจากวิหารวัดป่าแดงเหนือเมืองพะเยามาไว้ที่นครเชียงใหม่ โดยเสด็จไปรับด้วยพระองค์เองที่เมืองลำพูน ตลอดเวลาในช่วงปลายรัชกาล พระเจ้าติโลกราชได้สนพระทัยทะนุบำรุงพระศาสนาเป็นอันมาก ได้โปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทองคำองค์หนึ่งและโปรดฯ ให้บรรจุพระบรมธาตุ ๕๐๐ องค์ ขนานนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ วัดป่าตาลวัน ที่ซึ่งพระธรรมทินเถระผู้เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ เป็นเจ้าอาวาส
พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.
๒๐๓๐พระชนมายุ ๗๘ พรรษา พระญายอดเชียงราย
ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ขึ้นเสวยราชย์ครองเมืองเชียงใหม่แทน
นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังราย
พระญายอดเชียงรายได้โปรดสร้างสถูปขนาดใหญ่ บรรจุพระอัฐิของพระอัยกาธิราช (
พระเจ้าติโลกราช ) ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังให้ได้ตระหนักและระลึกถึงพระองค์ท่าน
ในฐานะเป็นผู้สถาปนาวัดเจ็ดยอดนี้ขึ้นซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
http://www.chiangmai-thailand.net
(พระเจ้าติโลกราชมหาราช:กษัตริย์และพระเป็นเจ้านครเชียงใหม่จากหนังสือเจ้าหลวงเชียงใหม่)
http://th.wikipedia.org
(พระเจ้าติโลกราชจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)
http://www.komkid.com
(พระเจ้าติโลกราชมหาราชแห่งล้านนา)
วิลาสวงศ์ พงศะบุตร ติโลกราช สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิยสถาน เล่ม 13
พิมพ์ครั้งที่
2 กรุงเทพฯ 2524
สรัสวดี อ๋องสกุล เว็บไซต์ล้านนาคดี 2530
วินัย พงศ์ศรีเพียร ปาไป่สีฟู่ ปาไป่ต้าเตี้ยน เชียงใหม่ในเอกสารจีนโบราณ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539
Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai)
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏชียงใหม่, 2538 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี
มูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่, 2548 วัดโลกโมฬี ส.ทรัพย์การพิมพ์ เชียงใหม่
สรัสวดี อ๋องสกุล เว็บไซต์ล้านนาคดี 2530
วินัย พงศ์ศรีเพียร ปาไป่สีฟู่ ปาไป่ต้าเตี้ยน เชียงใหม่ในเอกสารจีนโบราณ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539
Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai)
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏชียงใหม่, 2538 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี
มูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่, 2548 วัดโลกโมฬี ส.ทรัพย์การพิมพ์ เชียงใหม่
http://www.madchima.org
(ภาพจากพระคาถาปโชตา(สังวาลย์เพชรพระพุทธเจ้า)ของพระเจ้าติโลกราช
ล้านนา)
http://www.thakan.com
(ภาพจากบทความพระญาติโลกราชะ เวียงท่ากานแหล่งข้อมูลล้านนาศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น