วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจ้าพ่อพญาวัง เจ้าเมืองพระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งเมืองวัง

ศาลเจ้าพ่อพญาวัง ตั้งอยู่ที่เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ต.วังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

     
              เจ้าพ่อพญาวัง เป็นเจ้าเมืองวัง ปกครองเมืองวัง ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๐๐- ๑๘๐๐ และเจ้าพ่อพญาวังน่าจะเป็นพระยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ และในยุคนี้มีการค้าขายและผลิตสินค้า มีความเจริญมากที่สุด ประเภทถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา ผางประทีป     ที่มาจากเตาเผาสันกำแพง   เชียงใหม่   เตาเผาพาน  เชียงราย  หรือเตาเผา 
ประวัติเจ้าพ่อพญาวัง
"
ลุเมื่อ พ.ศ.๑๗๐๒ พระเจ้าไชยศิริแห่งนครไชยปราการ ได้เสียเมืองให้แก่ขุนเลียขวัญฟ้ามหาราช แห่งอาณาจักรเมาพระองค์จึงได้ อพยพพลเมือง ไปตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง มื้อนั้นก็ถึงกาลที่นครไชยปราการต้องถึงคราววิบัติ นี่เอง พญาวังข้าราชบริพาร แห่งพระเจ้าไชยศิริมิได้อพยพติดตามไปด้วย หากแต่ได้อพยพผู้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งรักถิ่นฐานเดิมหลบหนีจาก ไชยปราการ มาตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ พญาวังได้สร้างคุ้มและวัดวาอารามขึ้นในอาณาบริเวณแห่งนี้ อันมีชื่อเรียกในกาลปัจจุบันว่า ดงหอเจ้าพ่อพญาวัง อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอวังเหนือและอำเภอใกล้เคียงตราบจนปัจจุบัน"

ประวัติอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
                   อำเภอวังเหนือ ตามปรากฏในธรรมพุทธจาริก ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเดิมเรียกว่าเมืองหวัง ต่อมาผู้คนพูดกันผิดเพี้ยนเป็น เมืองวัง และเรียกว่า วังเหนือ จนถึงปัจจุบัน สำหรับการตั้งถิ่นฐาน แบ่งได้เป็น ๓ ยุคคือ
              ยุคที่ ๑ สมัยเจ้าพ่อพญาวังปกครองเมืองวัง ประมาณ ช่วง พ.ศ. ๑๗๐๐-๑๘๐๐ จากการศึกษาประวัติพระองค์ท่านจากเอกสารแผนภูมิปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวังเหนือ และเอกสารประวัติอำเภอวังเหนือ ซึ่งแต่งโดยพระมหาสุทัศน์ หลักแน่น (ปัจจุบันคือ พระเทพรัตนมุนี รจภ.๖) วัลลพ เสียงกึก ได้เขียนประวัติเจ้าพ่อพญาวังตรงกันว่า ได้มีพระประยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ เจ้าเมืองไชยปราการ ขณะหนีภัยสงคราม หลังเสียเมืองให้แก่พระเจ้าขวานฟ้าแห่งอาณาจักรเมา ได้นำข้าราชบริพารหลีกออกจากขบวนมาตั้งถิ่นฐานและครอบครองเมือวังและได้สถาปนาตนเองเป็นพญาวัง
             ยุคที่ ๒ หลังจากสิ้นเจ้าพ่อพญาวัง พ.ศ. ๑๙๐๐-๒๓๐๐ เป็นยุคที่ไม่มีเจ้าผู้ครองเมือง เป็นเพียงหัวเมืองเล็กๆ โดยมีฐานะเป็นพันนาคือเป็นตำบลที่จะต้องส่งส่วย ขึ้นอยู่กับแว่นแคว้นพะเยา ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด เป็นยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างเมือง สินค้าที่พบคือเครื่องปั้นถ้วยชาม เครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่สวยงามและหายากในปัจจุบัน
              ยุคที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๐๐ - ปัจจุบัน เป็นยุคที่เริ่มมีการปกครองระบบเทศาภิบาล วังเหนือเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแจ้ห่ม ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมื่อขึ้น พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อได้พัฒนาตัวเองจนเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐  จากการที่ เจ้าพ่อพญาวัง เป็นผู้ครองเมืองวังเพียงพระองค์เดียว จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาวังขึ้นบริเวณคุ้มวังเดิม ในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ตำบลวังเหนือ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของคนวังเหนือสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ทุกปีจะมีประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาวัง เดือน ๙  ( เหนือ ) แรม ๑๓  ค่ำ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนวังเหนือมีความรัก ความผูกพันในถิ่นเกิด ทุกปีต้องกลับต้องกลับมาภูมิลำเนา
              เมืองวัง มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดเล็กมีการค้นพบเครื่องมือหินบริเวณสันเขาปันน้ำและภูเขาทั่วไปในอำเภอวังเหนือ โดยเฉพาะพบรอย พระพุทธบาทบนภูเขาบ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะมีการพบขวานหิน ขวานสำริดอำเภอวังเหนือ ในประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อเรียกว่า ดงเวียงหรือ เวียงวัง (เมืองวัง) ตามหนังสือประวัติศาสตร์อำเภอวังเหนือที่แต่งโดยพระมหาสุทัศน์ หลักแน่น และนายวัลลพ เสียงกึก สันนิษฐานว่าเมืองวังเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๕๐๐-๕๙๙ เป็นต้นมา โดยคาดว่าน่าจะเป็นเมืองขึ้นหรือส่วนหนึ่งของเมืองอื่นในอดีต เช่น เมืองเชียงแสน หรือ เมืองนครเขลางค์ เมืองวังมีช่วงที่เจริญสูงสุด จะเป็นในช่วงยุคสมัยที่เจ้าพ่อพญาวัง ปกครองเมืองวังระหว่างปี พ.ศ.๑๗๐๐-๑๘๐๐ ซึ่งประวัติเจ้าพ่อพญาวังน่าจะเป็นพระประยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ และในยุคนี้มีการค้าขายและผลิตสินค้า ประเภทถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา ผางประทีป ที่มาจากเตาเผาสันกำแพง เชียงใหม่ เตาเผาพาน เชียงราย หรือเตาเผา วังเหนือ เวียงกาหลง และมีการค้นพบชิ้นถ้วยที่ผลิตในยุคราชวงค์หมิงประเทศจีน ต่อมาประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๑๗ เกิดภาวะสงครามขึ้นระหว่างพม่า กับล้านนา ทำให้ผู้คนต่างหนีภัยไปในทิศทางต่างๆ จนกลายเป็นสภาพเมืองร้าง  จนถึงปีประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๓ เมืองวังกลับคืนสู่สภาพความเป็นชุมชนเมือง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากพม่าสิ้นอำนาจการปกครองในสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่สามารถขับไล่พม่าได้สำเร็จ   ใน พ.ศ.๒๔๓๕ มีการแบ่งการปกครอง เป็นระบบส่วนภูมิภาค และระบบเทศาภิบาลเมืองวังเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอมีการเปิดที่ว่ากิ่งอำเภอครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๑ และปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับการยกฐานขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

2 ความคิดเห็น:

  1. ผมมาเก็บข้อมูล อยากเขียนเพลง เกี่ยวกับดงวังในยุคเริ่มแรกครับ

    ตอบลบ