วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจ้าสุริยวงศ์(คำตัน สิโรรส) นายกองระวังเหตุกวีผู้มีฝีปากเยี่ยม

ภาพถ่ายเจ้าสุริยวงศ์(คำตัน  สิโรรส)



                  เจ้าสุริยะวงศ์(คำตัน  สิโรรส) ท่านเป็นต้นสกุล สิโรรส เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เป็นโอรสของเจ้าน้อยกาวิละ ซึ่งเป็นเจ้านายในราชสกุลเชียงตุง (เขมรัฐ) และเจ้าหญิงจันทร์หอม ณ เชียงใหม่ มีบุตรกับเจ้าหญิงสุคันธา ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าราชบุตร (หนานสุริยวงษ์) ๔ คน มีบุตรกับนางเกี๋ยงคำ ๔ คน มีบุตรกับนางคำ ๑ คน และมีบุตรกับนางนวล ๑ คนเจ้านายในราชสกุลเชียงตุง (เขมรัฐ) ที่อพยพมาอยู่เชียงใหม่ กับเจ้าหญิงจันทน์หอม ณ เชียงใหม่ เจ้าสุริยวงศ์รับราชการในสมัยพ่อเจ้าอินทวโรรสสุรยวงศ์  เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘(ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๒) เป็นผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญหลายด้าน เป็นกวีที่ฝีปากดีเยี่ยม ผลงานสำคัญ ในฐานะกวีที่มีฝีปากเยี่ยม ได้แต่งกวีนิพนธ์ภาษาล้านนา ค่าวซอเรื่องหงส์หินมหาชาติ และ นคร กัณฑ์สมัยใหม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า นครเจ้าสุริยะหรือนครสมัย และซอรับเสด็จ  ตัวอย่างมหาชาตินครสมัย (ตอนพรรณนาจตุรงคเสนา) 

“.......รถเกวียนครางคะครื้น นับหลายหมื่นมวลมี สารถีขับแล่น วาดแส้แกว่ง แพรวพราว บางเหล้มใส่กะไหล่เดินขาวเขียนพาด ดูสะอาดติดยาง รถยนต์คราวเทียวไต่ ขับรถไขว่สานสน พะตืนบนหนังฟอก กระจกรอบปิดตัน เพื่อหื้อกันลมฝุ่น ละอองมุกมุ่น มัวควัน รถยนต์คันน้อยใหญ่ ขับอวดให้สาวดู แต่งตัวหรูขึ้นขี่ รถแท็กซี่ขับเอง ชุมนักเลง หุมชอบ ขี่เกี้ยวปลอบนารี บางเหล้มทาเป็นสีลูกหว้า บางเหล้มทาสีกรมท่าเขียวขาว บางเหล้มทาสีแดงพราวสะอาด ชักเส้นพาดเขียนดี ดุมคัชซีซ่อมใหม่ฯลฯ....... 
นอกจากผลงานด้านการกวีท่านยังเป็นนายช่างเอกที่มีความชำนาญสูงยิ่งในการแกะสลัก ผลงานช่างของท่านคือ แท่นแก้วพระพุทธรูปและสัตตปริภัณฑ์ (เชิงเทียนขนาดใหญ่) ปัจจุบันอยู่ในวัดสำเภา เชียงใหม่ สัตตภัณฑ์ไม้สักแกะสลักเป็นพญานาคราช เศียร ปัจจุบันอยู่ในวัดสำเภา เชียงใหม่และโต๊ะทำงานรูปโค้งแบบช่างจีนเซียงไฮ ด้านราชการงานปกครอง เป็นนายกองตระเวนด่านชายแดนหรือนายกองระวังเหตุ ด้านแม่ฮ่องสอน ขุนยวม ซึ่งมีโจรผู้ร้ายชุกชุม จนเป็นที่เกรงขามทั้งคนไทยและคนต่างชาติ สมรถกับเจ้าหญิงสุคัณธา ณ เชียงใหม่ เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) มีชีวิตอยู่ในช่วงการปกครองของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ถึง พระองค์ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์  เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ และเจ้าแก้วนวรัฐ  ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ 






ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

http://www.lannapoem.com(มณี พยอมยงค์, 2516 : 125-141) 

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ธันวาคม 2555 เวลา 08:04

    อยากทราบว่าเจ้าวงค์ที่เป็นเจ้าของโรงหนังสุริวงค์ และรุ่นลูกหลานรุ่นหลังได้เปลี่ยนเป็นสุริวงค์บุ๊คเซ็นเตอร์เป็นทายาทรุ่นไหน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจโรงแรม โรงภาพยนตร์ และโรงพิมพ์ของเชียงใหม่ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ คือ โรงแรมสุริวงศ์ ถนนช้างคลาน พร้อมกับโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยแห่งแรกของเชียงใหม่ ด้วยระบบจอซีนีมาสโคป ๗๐ มิลลิเมตร เสียงเซ็นเซอร์ราวนด์ ติดเครื่องปรับอากาศ
      เมื่อธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้รับความนิยม ก็ได้สร้างโรงภาพยนตร์ในเครือสุริวงศ์ขึ้นอีกหลายแห่ง เพื่อสนองความต้องการของคนเชียงใหม่และคนในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ โรงภายนตร์สุริยา สุริยง รามา และแสงตะวัน อีกทั้งยังร่วมลงทุนสร้างภาพยนตร์ด้วย ขณะเดียวกับที่กิจการภาพยนตร์เฟื่องฟู ท่านได้เปิดธุรกิจโรงพิมพ์เพิ่มขึ้น คือ สุริวงศ์การพิมพ์ ซึ่งเป็นโรงพิมพ์แรก ๆ ของเชียงใหม่ ต่อมายังได้สร้างโรงแรมแม่ปิง และโรงแรมดวงตะวัน และเมื่อธุรกิจโรงแรม โรงภาพยนตร์ มีการแข่งขันสูง ประกอบกับความชรา เจ้าไชยสุริวงศ์ จึงขายกิจการทั้งหมด

      เจ้าไชยสุริวงศ์ เป็นโอรสองค์ที่ ๔ ของหม่อมคำใส กับ พันตำรวจเอก เจ้าไชยสงครามสมพมิตร ณ เชียงใหม่ ผู้กำกับการตำรวจมณฑลพายัพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบที่เหี้ยมหาญ มีวิชาคาถาอาคม และมีความใกล้ชิดกับเจ้าแก้วนวรัฐ ในฐานะนายตำรวจคนสนิทที่เจ้าแก้วนวรัฐมอบความไว้วางไว้ใจให้ทำหน้าที่เป็นควาญช้างพระที่นั่ง ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลพายัพในปี พ.ศ. ๒๔๖๙
      เจ้าไชยสุริวงศ์ มีศักดิ์เป็นราชปทินัดดาในพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕ มีเจ้านายพี่น้องร่วมกัน ๑๐ คน ดังนี้ กำเนิดกับเจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่
      าน้อยหน่อคำ ณ เชียงใหม่
      เจ้าหญิงจันทรโสภา ณ เชียงใหม่
      กำเนิดกับ หม่อมคำใส ณ เชียงใหม่
      เจ้าหญิงข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่
      เจ้าไชยมงคล ณ เชียงใหม่
      เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่
      เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่
      เจ้าไชยชนะ ณ เชียงใหม่
      กำเนิดกับ หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่
      เจ้าน้อยอินทร์ ณ เชียงใหม่
      เจ้าน้อยหมอก ณ เชียงใหม่
      เจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (เป็นเจ้ายายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
      เจ้าไชยสุริวงศ์ มีบุตร ๒ คน คือ นางช่อแก้ว วิสุทธิ์เสรีวงศ์ และนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ

      ที่มา
      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%93_%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

      ลบ
  2. ลูกหลานตระกูลสุริยะวงค์ก็อยากทราบว่าบรรพบุรุษของพวกเรา เป็นใคร ต้องมีที่มาซิ ประวัติศาสตร์หน้านี้เชื่อถือได้แค่ไหน สุริยะวงค์ ก็เป็นตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก ณ.เชียงใหม่ เหมือนกัน เพราะว่า รุ่นพ่อเคยอยู่กับเจ้าวงค์ และแม่เต็ม ทำงานอยู่โรงหนังสุริวงค์ แต่ทำไมประวัติศาสตร์ไม่มีใครพูดถึงตระกูลสุริยะวงค์เลย ลูกหลานสุริยะวงค์กรุณาออกมาทวงสิทธิ์กันหน่อย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. บรรพบุรุษของตระกูลสุริยวงศ์ ทำงานในคุ้มหลวงของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทำหน้าที่ดูแลเครื่องบรรณาการล่องเรือไปถวายพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ สมัยนั้นเรียกว่านายฮ้อย คือ คุมการเดินเรือของเจ้าหลวงทั้งหมด บ้านเดิมอยู่ติดแม่น้ำปิงติดด้านทิศใต้ของสะพานเหล็กข้ามไปฝั่งตะวันออก ผู้ที่ทำหน้าที่คุมกองเรือเช่นนี้ต้องมีความสามารถหลายอย่าง โดยเฉพาะจะต้องมีเวทย์มนตร์ มีคาถาอาคม เมื่อเรือล่องไประหว่างทางจะต้องมีการเซ่นไหว้บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้การเดินเรือปลอดภัย

      ที่มาจาก
      http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=4457.0;wap2

      ลบ