วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

พระยาปัญญาพิทธาจารย์ (พระยาพื้น) ยอดกวี ๔ แผ่นดินล้านนา

ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน กล่าวกันว่า ท่านเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ทิศตะวันตกของวัดผ้าขาว อำเภอเมือง เชียงใหม่ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า พระยาพื้น สันนิษฐานว่ามีชีวิตร่วมสมัยกับพระยาโลมาวิสัย เชื่อกันว่าท่านทั้งสองเคยพบและประลองฝีปากคำโคลงกัน ทั้งนี้เพราะต่างก็เป็นกวีในราชสำนัก แต่คนละเมือง พระยาพื้นประจำราชสำนักนครเชียงใหม่ ปัจจุบัน ลูกหลานท่านใช้นามสกุล พื้นพิทธา

มณี พยอมยงค์ อ้างว่าได้พบตำราของพระยาพื้นว่าด้วยศัพท์ศาสตร์ และตำรา โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เขียนโดยพระยาปัญญาพิทธาจารย์ ซึ่งระบุปี พ.ศ. ต่างๆ กัน มีระยะเวลาถึง ๔ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คือ เจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกา พ.ศ. ๒๓๕๗ เจ้าหลวงเศรษฐี (คำฝั้น) พ.ศ. ๒๔๖๔ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็นพุทธวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๘ และพระเจ้ามโหตรประเทศ พ.ศ. ๒๓๘๙ จึงไม่ทราบว่าท่านเกิดเมื่อใด และถึงแก่กรรมปีไหน เล่ากันว่าหลังจากท่านถึงแก่มรณกรรมแล้ว ลูกหลานของท่านได้ขนเอาคัมภีร์ใบลานและพับหนังสาของท่านไปไว้วัดผ้าขาวถึง  เล่มเกวียน แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักปราชญ์ นักศึกษา และกวีสำคัญคนหนึ่งของล้านนา

ผลงานของพระยาปัญญาพิทธาจารย์เท่าที่ทราบมีดังนี้

.   
คำยอคุณพระพุทธเจ้า ซึ่งเรียกกันว่ายอคุณแบบสุเมธฤาษี

.   
คำประกาศเทพยดา

.   
คำแผ่กุศลแก่เทวดา

.   
คำแผ่กุศลแด่เทพเจ้าดาวนพเคราะห์ทั้งหลาย

.   
คำเรียกขวัญลูกแก้ว (เรียกขวัญนาค)

.   
เกลาสำนวนมหาชาติจากของเก่าบางกัณฑ์ เช่น กัณฑ์กุมาร มัทรี มหาราชและ นครกัณฑ์

.   
ค่าวอุทาหรณ์ คำสอนต่างๆ

.   
โคลงคำสอน คล้ายโคลงโลกนิติ

หากจะพิจารณาตามลักษณะแห่งการประพันธ์ จะเห็นได้ว่าพระยาปัญญาพิทธาจารย์ จะต้องเคยบวชเรียนในพระพุทธศาสนาจนมีความรู้เชี่ยวชาญทางอรรถบาลีเป็นอย่างดี เพราะเนื้อความที่ท่านแต่งเกือบจะทุกเรื่องเต็มไปด้วยศัพท์ภาษาบาลี และนำมาใช้ติดต่อเชื่อมกันได้อย่างเหมาะสม มีข้อความเปรียบเทียบลึกซึ้งกินใจอย่างน่าพิศวง ในด้านคำเรียกขวัญนาคและคำโอกาสเวนทานนั้น นับว่าเป็นแบบฉบับของอาจารย์เวนทานในปัจจุบันเลยทีเดียว 

ตัวอย่างคำเรียกขวัญลูกแก้ว

สรีสวัสดี ไชยมังคลอันประเสริฐ วันนี้เป็นวันอันล้ำเลิศมหาอุจจา เอาศักราชมาตั้งเล่า เอาร้อยแปดเข้ามาหาร ปัญจมานคูณใส่ ดิถีไล่เป็นขอม เกณฑ์เดือนรอมเข้าบวก เอาเลขเก้าลวดลงหาร เศษเป็นฐานไชยโชค อุตตมโยคใสสรี เป็นเกิน (บันได) แก้วสวัสดี แควนยิ่ง เทพไท้มิ่งมเหสักขา เทวบุตตาตนใหญ่ ยกย่างย้ายเข้าสู่รวายศรี จันทะดีเรียงอยู่ นักขัตตฤกษ์คู่มหาไชย อังคารไปสู่เมษ ได้เกษตรตัวดี สุขสรีย้ายจาก เป็นอุตตมาสมหาไชย ราหูไปเป็นหมู่ พุธเข้าสู่เมถุน....ฯลฯ.......




ขอบคุณข้อมูลจาก

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. จริงๆ แล้วลูกหลาน คือ บ้านข้าเจ้า ยัง มีถิ่นฐาน อยู่ ตางวันออกวัดผ้าขาว บ้านอยู่หน้าวิหารวัดผ้าขาว

    แม่ใต้นามสกุล ยาพื้น แม่เป๋นลูกป้ออุ้ยทา ยาพื้น กับ แม่อุ้ยจันทร์ คำมนเฑียร (ผญา มณเฑียรกับ ผญา ปื้น)

    คุณแม่ นางจันทร์เพ็ญ ยาพื้น แต่งงาน กับ คุณพ่อ นาย ตาลอ่อน ธระเสนา บุตรของคุณพระ ศรีสุนทรกิจ และ คุณย่าเพ็ง ธระเสนา

    ตอบลบ