วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

เจ้าพ่อติ๊บปาละ (สามขา) วีรบุรุษแห่งบ้านสามขา





                   เจ้าพ่อติ๊บปาละ (สามขา) เดิมชื่อ ติ๊บปาละ หรือติบปาละ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๐ ที่บ้านสามขา  เป็นบุตรของแม่คำ บิดาไม่ปรากฏหลักฐาน      
                  ในสมัยก่อนมีศึกเงี้ยว (ไทยใหญ่) เข้ามายึดครองเมืองหลามป่าง (ชื่อ เดิมของนครลำปาง) จากการยึดครองเมมองของเงี้ยวในสมัยนั้นได้จับเด็กผู้ชายมาฆ่าทังหมดแม้แต่ แรกเกิด และแม้แต่รกที่ออกมากับเด็กก็ต้องบังคับให้นำไปฝังไว้ที่ใต้บันได ให้ทุกคนทั้งชายและหญิงได้เหยียบย้ำเพื่อแก้เคล็ด เมื่อเด็กโตขึ้นมาจะพากับกอบกู้บ้านเมืองคืน ดังนั้นจึงพากันกำจัดเด็กผู้ชาย โดยนำเด็กที่จับได้ใส่ครกมองตำให้ตายหรือนำเอาไปไว้กลางไร่นา ปล่อยน้ำเข้าใส่ให้น้ำท่วมตาย ราษฎรที่มีบุตรชายจะนำบุตรของตนไปหลบซ่อนตามป่าเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือ ของทหารเงี้ยว ในจำนวนนั้นมีแม่เด็กคนหนึ่งชื่อแม่จำ คือแม่ของเด็กชายติ๊บปาละนั้นเอง ได้นำเอาบุตรชายไปหลบซ่อนอยู่บนภูเขา (ชื่อเขาพืม) โดยพาบุตรชายอาศัยอยู่ใต้ต้นปล่ามก้อ ไหว้วอนขอให้พระแม่ธรณีเทวาอารักษ์เสือบ้านเจ้าปักษ์แจ้าแคว่นเสนาพระยา แก้วหื้อมาช่วยคุ้มครองปกปักรักษาได้อยู่รอดปลอดภัย โดยอธิษฐานว่าหากเด็กคนนี้มีบุญญาธิการที่จะได้กอบกู้บ้านเมืองคืนมาในภาย หน้าขออย่าให้ทหารเงี้ยวได้พบได้เห็นเลย ส่วนทหารเงี้ยวได้เดินค้นหารอบบริเวณใกล้ ๆ ที่เด็กหลบซ่อนอยู่หลาย ๆ เที่ยวก็ไม่พบ ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่เด็กเล็ก ๆ ไม่ส่งเสรียง ไม่ร้องไห้แต่อย่างใด ผู้เป็นแม่ได้เลี้ยงลูกโดยอาศัยข้าวตากแห้งอมนำเอามาเคี้ยวป้อนบุตรชายจน กระทั่งการศึกสงบ ทหารเงี้ยวได้ถอนกำลังกลับเมือง แม่คำจึงพาบุตรชายกลับมาอยู่บ้านตามเดิม
พอบุตรชายโตขึ้นจึงนำมาฝากไว้กับสมภารวัด ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสามขา ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเวทมนต์คาถาอาคมจนเก่งกล้า จึงบวชเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นภิกษุมีนามว่า ตุ๊ติ๊บปาละ
ท่านสมภารซึ่งเป็นอาจารย์ของพระติ๊บปาละชื่อพระอาจารย์ ธรรมวงศ์ มีคาถาอาคมเก่งกล้า ถ้าวันไหนเป็นวันพระจะกลายร่างเป็นเสือ (เสือเย็น) ด้วยฤทธิ์คาถาอาคมที่มีอยู่ ดังนั้นพอใกล้ถึงวันพระท่านจะเสกน้ำมนต์ให้พระติ๊บปาละไว้ พร้อมทั้งสั่งกำชับว่าถ้าอาจารย์กลายร่างเป็นเสือจงอย่าได้กลัว ให้ตั้งสติให้ดีแล้วใช้น้ำมนต์ที่ให้ไว้รดไปที่ร่างเสือ ร่างเสือก็จะกลายเป็นร่างคนตามเดิม ต่อมาไม่นานเจ้าอาวาสท่านอาจารย์ก็มรณภาพลง พระติ๊บปาละจึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสามขาสืบมา
          ระหว่างปีพุทธศักราช  ๒๒๗๒  – ๒๒๗๕  บ้านเมืองในบริเวณแผ่นดินล้านนา คือ ภาคเหนือตอนบน อยู่ใต้การปกครองของพม่า ระยะนั้นตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย มีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระครองราชย์( พ.ศ.  ๒๒๕๑ -๒๒๗๕)  เมืองเชียงแสน เชียงราย นครลำปาง นครแพร่ นครน่าน นครเชียงใหม่ ต่างตั้งตัวเป็นอิสระไม่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเกิดการจลาจล รบพุ่งกันไปทั่วทุกแห่งหน นครเชียงใหม่มีเจ้าองค์ดำเป็นเจ้าผู้ครองนคร และกำลังรบพุ่งติดพันกับพวกพม่า ส่วนที่นครลำปางก็เกิดความวุ่นวาย เพราะไม่มีเจ้าผู้ครองนคร มีแต่ขุนเมืองทั้งหลายควบคุมปกครองเมือง ขุนเมืองเหล่านั้นได้แก่ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือนจเรน้อย ท้าวลิ้นก่าน ต่างแย่งชิงอ านาจกัน แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า     เสนาเก่านครล าปางกระด้างกระเดื่อง ต่ออ านาจท้าวลิ้นก่าน  ผู้ถูกพม่าสั่งมาปกครองนครลำปาง เนื่องจากขาดผู้นำ  บ้านเมืองระส่ำระสาย   แตกเป็นก๊กเป็นเหล่า   ต่อมาได้มีสมเด็จวัดนายาง สมภารวัดสามขา และสมภารวัดบ้านฟ่อน  ได้ลาสิกขาออกมาเป็นสามตนบุญ มีไม้ตะพดและไม้เสารั้ว เป็นอาวุธต่อสู้รวมพล    อาสาสู้พม่า  เพื่ออิสระของชาวนครลำปาง  แต่ก็ถูกกระสุนปืนของทหารพม่าของท้าวมหายศเสียชีวิต   แม่ทัพพม่า ซึ่งเจ้านางสอิ้งค์ทิพย์ เจ้าแม่เมืองลำพูนมีบัญชาให้มาปราบปราม  ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงเมื่อนครลำปางถูกพม่าม่านเงี้ยว ยกทัพมาตี ทำให้เมืองนครลำปางแตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกพม่า   ชาวนครลำปางจึงหาวิธีการกู้นครลำปางกลับคืนมา   ในขณะนั้นพระญาสมุทร ครูบาวัดชมพู เรียกขุนท้าวทั้งหลายทั้งท้าวลิ้นก่าน จเรน้อย ประชุมลับ วางแผนที่จะกู้เมือง ท้าวลิ้นก่านขอถอนตัว ครูบาวัดชมพูจึงหารือว่า จะสึกออกมากู้บ้านกู้เมืองเอง แต่ชาวบ้านขออาราธนาไว้  และปาวารณาตัวว่าแม้นจะมีใครเป็นหัวหน้าก็จะร่วมมือร่วม  ขอพระญาสมุทรจงอย่าได้ลาสิกขา  พระญาสมุทรจึงกล่าวถึงทิพย์ช้าง  และขอให้ทิพย์ช้างเป็นหัวหน้ากู้บ้านเมืองทิพย์ช้างได้เป็นหัวหน้าผู้กอบกู้นครลำปาง  ทิพย์ช้างได้เสาะหาผู้มีฝีมือมาเป็นกำลังอาสา  รวบรวมพลให้ได้ ๗๐๐ คน  และต้องการคนหนังเหนียวมาก ๆ   ทิพย์ช้างก็เสนอให้มีการป่าวประกาศหาอาสาสมัคร  ก็ไม่มีใครอาสา  ทิพย์ช้างก็เลยอาสาตระเวนหาคนหนังเหนียว  สืบหาได้ว่า มี พระติ๊บปาละ วัดสามขา  หนานถานายาบ สมเด็จนายาง  พอได้สามท่านนี้มารวมกับทิพย์ช้าง   คงจะสู้กับพวกพม่าได้  ทิพย์ช้างจึงประกาศรวบรวมพลเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นได้เกลี้ยกล่อมให้พระติ๊บปาละวัดสามขา ลาสิกขา เพื่อเห็นแก่บ้านเมือง พระติ๊บปาละจึงลาสิกขา  เอาผ้ายันต์โพกศีรษะ และนำดาบ ๒ เล่ม ไปรวมกับกองทัพ  ร่วมกันวางแผนโจมตีข้าศึกที่วัดพระธาตุลำปางหลวง พ่อเจ้าทิพย์ช้างปลอมตัวพาไพร่พลเข้าประชิดตัวกับหัวหน้า คือ ท้าวมหายศ ยิงท้าวมหายศ หัวหน้าทัพพม่าตาย ส่วนพ่อเจ้าติ๊บปาละสามขา ยิงอะม๊อกใส่ข้าศึก พวกพม่าข้าศึก ก็แตกตื่นโกลาหน หนีกันไปคนละทิศทาง   พ่อเจ้าติ๊บปาละ หนานถานายาบ พร้อมทั้งไพร่พลได้ไล่ติดตามข้าศึกไปดักที่ประตูผา    ส่วนพ่อเจ้าทิพย์ช้างกับสมเด็จนายาง กับพวกทหารก็ไล่ตีข้าศึกถอยล่นไปรวมกันที่ประตูผา เจ้าพ่อติ๊บปาละสามขา กับหนานถานายาบ  ขึ้นแอบซุ่มอยู่บนต้นไม้มีใบตองห่ออีบา   พวกข้าศึกก็มาปรึกษากันอยู่ข้างล่างประชุมกันอยู่ว่า เราจะกลับไปตีเอาเมืองลำปางให้ได้  เรามารวมกันให้หมด เราอยู่ที่นี้แล้ว เราไม่กลัวอะไร ไม่ว่ามันจะดำดินบินบนมาจากไหน   ฝ่ายพ่อเจ้าทิพย์ช้างกับสมเด็จนายางกำลังติดตามข้าศึกมาอย่างกระชั้นชิด  ส่วนพ่อเจ้าติ๊บปาละกับหนานถานายาบ ที่อยู่บนต้นไม้  ใบตองห่อข้าวอีบา ทานน้ าหนักสองคนไม่ได้ ก็เลยหลุดหล่นลงมากลางข้าศึก  พ่อเจ้าติ๊บปาละก็เลยลั่นวาจาออกไปว่า ดำดินก็กู บินบนก็กู  พวกมึงตายเสียเถอะ   จากนั้นก็สู้รบกับพวกพม่าเป็นสามารถ   ข้าศึกล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็แตกหนีกระเจิงกันไปคนละทิศทาง   พอศึกสงบลงจึงพากันกลับมาที่เมืองลำปางอีกครั้ง คอยทีท่าว่ากำลังทหารพม่าจะกลับมาแก้แค้น แต่ก็ไม่มีวี่แวว จึงประชุมลงความเห็นว่าให้แต่งตั้งให้หนานทิพย์ช้างปกครองเมืองลำปางสืบต่อ ไป เพราะบ้านอยู่ใกล้เมือง นอกนั้นขอกลับบ้าน แต่สัญญากันว่าหากมีข้าศึกมารุกรานอีกจะกลับมาช่วยทันทีที่ได้รับข่าว ก่อนจากกันกลับบ้านมีคนนำไม้แก่นจันทน์มาให้ท่อนหนึ่งยาวประมาณห้าคืบเศษ ถูกเลาเป็นอย่างดีเก้าเท่าปลาย ปลายเท่าเก้า จึงตัดแบ่งเป็นสี่ท่อน หาช่างผู้มีฝีมือดีมาควักเป็นพระพุทธรูปสี่องค์ แบ่งกันคนละองค์เพื่อเป็นที่ระลึกไว้บูชา คือ หนานติ๊บปาละสามขา จำนวน  องค์ สมเด็จนายาง จำนวน  องค์ หนานถาบ้านฟ่อน จำนวน  องค์ ทิพย์ช้างบ้านไผ่ จำนวน  องค์ จากนั้นก็แยกย้ายกับกลับบ้าน ส่วนหนานติ๊บปาละพาลูกน้องกลับมาอยู่ที่วัด พ่อเฒ่าแม่แก่ พ่อแม่พี่น้องทั้งบ้านใกล้เรือนเรียงเคียงทราบข่าวการกลับมาของหนานติ๊บปา ละก็พากันมาแสดงความดีใจและรับฟังคำบอกเล่าของหนานติ๊บปาละในการออกรบให้ พี่น้องลูกหนานตลอดจนชาวบ้านใกล้เคียงได้รับฟังจนหมดสิ้น และได้เล่าต่อกันมาจนถึงลูกหลานตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนหนานติ๊บปาละหรือเจ้าพ่อติ๊บปาละเป็นผู้อยู่ยงคงกระพันด้วยเวทมนต์คาถา ไม่มีผ้ายันต์ป้องกันตัวตามที่บางแห่งกล่าวอ้าง  และเจ้าพ่อติ๊บปาละได้กลับมาบวชเป็นพระเป็นเจ้าอาวาสวัดสามขา จนกระทั่งมรณภาพ 

2 ความคิดเห็น:

  1. ชื่อเดิม อาลัมภางค์,เขลางค์นคร ครับ หลามป่าง ไม่รู้จักครับ

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลตกหล่น พิมพ์ผิด เยอะมากครับ

    ตอบลบ